26 สิงหาคม 1920 วันแห่งชัยชนะ ‘ผู้หญิงอเมริกาเลือกตั้งได้ครั้งแรก’August 26, 1920 The day of victory “Votes for Women”

by | Aug 25, 2022 | Uncategorized

26 สิงหาคม 1920 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของขบวนการสิทธิสตรีในโลกตะวันตก ซึ่งเป็นวันแห่งชัยชนะของผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ผู้หญิงสามารถเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียม โดยศาลสูงสุดได้ออกกฎห้ามการเลือกปฏิบัติทางเพศในทุกหน่วยเลือกตั้งอย่างถาวร เพื่อเป็นการยกเลิกการกีดกันสิทธิของพลเมืองสหรัฐอเมริกาในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอันเนื่องมาจากเหตุแห่งเพศ

การต่อสู้ของเหล่าผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิทางการเมืองในอดีตเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยในช่วงระหว่างปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 (ราวปี 1848-1920) ที่ผู้หญิงในสหรัฐฯยังไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งหรือสิทธิขั้นพื้นฐานในการถือครองทรัพย์สมบัติ ทำให้เกิดขบวนการเรียกร้องโดยกลุ่มสตรีชนชั้นกลางผิวขาวซึ่งไม่พอใจที่ผู้หญิงต้องอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ชาย

จุดเริ่มต้นของการได้มาซึ่งสิทธิในการเลือกตั้งของผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเกิดกลุ่ม National League of Women Voters ในแต่ละมลรัฐ หรือการก่อตั้งพรรคสตรีแห่งชาติ (National Woman’s Party) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางการเมืองและความเท่าเทียมทางเพศในด้านอื่นๆ เริ่มมาจากสตรีที่ชื่อว่า ซูซาน บราวเนลล์ แอนโธนี (Susan Brownell Anthony) สตรีผู้ท้าทายระบบการเลือกตั้งแบบชายเป็นใหญ่

Susan B. Anthony คือใคร ?

ซูซาน แอนโธนี เริ่มต้นจากการเป็นผู้นำนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน โดยเธอเริ่มต่อสู้ในประเด็นการเลิกทาส ซึ่งในขณะนั้นมีทาสผิวดำจำนวนมากถูกนำเข้ามาเพื่อทำงานในไร่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา (ช่วงปี ค.ศ. 1862) ต่อมาในศตวรรษที่ 19 เธอได้ก้าวมาเป็นผู้นำที่มีบทบาทสำคัญต่อประเด็นการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการเลือกตั้งของสตรีในสหรัฐอเมริกา โดยวีรกรรมที่สำคัญและนำไปสู่การพิจารณาของของศาลสูงสุดให้สตรีมีสิทธิเลือกตั้งได้ คือการที่เธอพยายามจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.1872 ซึ่งในยุคนั้น สตรีไม่มีสิทธิในการออกเสียงทางการเมืองเธอจึงถูกปรับเป็นเงิน 100 ดอลลาร์ แต่เธอก็ไม่เคยไปจ่ายค่าปรับ และยังทำงานเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิทางการเมืองของสตรีอย่างต่อเนื่อง

ซูซาน แอนโธนีเป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารสิทธิสตรีชื่อ The Revolution และขบวนการสิทธิสตรีอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในทางกฎหมายของรัฐและระดับประเทศ เธอจึงเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญผู้นำทางให้สตรีได้มีบทบาทในรัฐบาลของสหรัฐอเมริกามากขึ้นในเวลาต่อมา

ก่อนเกษียณ ซูซาน แอนโธนีถูกถามว่า แล้วสตรีทั่วทั้งสหรัฐจะได้มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งเมื่อใด เธอตอบว่า

“..วันที่ผู้หญิงได้เลือกตั้งมันจะมาถึง แต่ฉันอาจไม่ได้อยู่มีชีวิตที่จะเห็นมัน เราไม่สามารถปฏิเสธสิทธิของคนอีกครึ่งประเทศ เช่นเดียวกับที่เราไม่สามารถให้คนผิวดำถูกพันธนาการได้ตลอดไป มันจะไม่เกิดขึ้นด้วยความรุนแรงเหมือนการปลดปล่อยทาส แต่มันจะมาถึง ภายในสักชั่วอายุคนหนึ่ง..”

แม้ซูซาน แอนโธนีจะเสียชีวิตไปในปี ค.ศ. 1906 ก่อนที่ผู้หญิงจะได้รับสิทธิการเลือกตั้ง แต่การเคลื่อนไหวของสตรียังไม่จบสิ้น โดยกลุ่มสตรี National League of Women Voters ได้เดินเท้าเข้าไปติดต่อกับอัยการสูงสุดของแต่ละมลรัฐเพื่อยืนยันสิทธิให้ผู้หญิงทุกคนในสหรัฐอเมริกามีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งจนได้รับชัยชนะไปทั้งหมด 37 รัฐ ในท้ายที่สุด วันที่ 26 สิงหาคม 1920 จึงมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งห้ามไม่ให้มลรัฐและรัฐบาลกลางปฏิเสธสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสตรีได้อีก

จากชัยชนะในการให้สิทธิ์แก่ประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่เป็นผู้หญิงได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันนั้น ถือเป็นการประกาศความเท่าเทียมกันของชาย หญิงที่นำไปสู่สิทธิในการคัดเลือกตัวแทนหรือผู้นำที่จะมาแก้ไขปัญหาความรุนแรงจากการถูกตัดสิทธิ์ในการดำเนินกิจการและการดำเนินชีวิตของผู้หญิงในวันนี้ อันเป็นรากฐานสำคัญต่อการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยทางการเมืองของอเมริกาให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) จะช่วยให้สังคมยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศทั้งหมดได้ง่ายขึ้นอย่างไม่มีขอบเขต

อ้าอิง

https://suffragistmemorial.org/august-18-1920/

https://en.wikipedia.org/wiki/Women’s_Equality_Day

http://pracob.blogspot.com/2012/11/susan-b-anthony.html

🔗ติดตามพวกเรา Follow FB & IG & LI: @YoungPrideClub

#Youngprideclub #LGBTQ #loveislove #humanrights #equality #freedom #love #humanity #justice #feminism #peace #feminist #womensrights #lgbtq #equalrights #activism #lgbt #pride #womenempowerment #loveislove #women #usa #news #democracy #rights #diversity #queer #awareness #Thailand