UPDATE: ชาย – หญิงทั่วไปได้รับการดูแลทางสุขภาพ แต่ทำไมชาวทรานซ์จึงเข้าถึงการดูแลเหล่านั้นยากกว่า?

สิทธิการรับรองการตรวจสุขภาพทางเพศสำหรับหญิง – ชายข้ามเพศ กับ ‘Non-Binary’ กำลังถูก “ต่อต้าน” จากกฎหมายและแวดวงทางการเมืองในสหราชอาณาจักร
.
เห็นได้ชัดเจนจากกรณีของ Keira Bell ที่เกือบจะประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ศาลยกเลิกการปิดกั้นสิทธิการดูแลสุขภาพของคนข้ามเพศในวัยรุ่น ข้อเท็จจริงของปัญหาในวันนี้คือการที่คนข้ามเพศต้องการจะเข้าไปตรวจสุขภาพในแต่ละครั้งอาจต้องทนรอคิวนานถึง 26 ปี ในการนัดตรวจครั้งแรก อีกทั้งนักการเมืองที่ฟูมฟายพร่ำบ่นถึงกรอบทางความคิดแบบเดิม ๆ ที่พวกเขามองว่า “เพศหญิงเท่านั้นที่มีมดลูก” ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ใช่! ‘Transman’ และ ‘Non-Binary’ ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อเข้าถึงบริการการตรวจมดลูก และการดูแลสุขภาพเจริญพันธุ์ในแต่ละช่วงวัย
.
กลุ่มคนที่รังเกียจรังงอนคนข้ามเพศ (Transphobic) กล่าวว่า คนข้ามเพศคือ “ผู้พิการ” และสร้างหวาดกลัวทางคำพูดว่าการบำบัดด้วยฮอร์โมนจะนำไปสู่การเป็นหมัน ซึ่งมักแว่วมาให้ได้ยินอยู่ทั่วไปในกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์คนข้ามเพศ หรือแม้แต่ในคอลัมนิสต์ และในตอนนี้ความคิดดังกล่าวมันกำลังกลืนกินนักการเมืองในสภา
.
แล้วทำไมชาย – หญิงตรงเพศทั่วไป (Cis/cisgender) แลดูกังวลกับการดูแลสุขภาพทางเพศให้กับกลุ่มคนเพศอื่น ๆ ทั้งที่ตนเองก็ได้รับการดูแลสุขภาพทางเพศอยู่แล้วเป็นปกติ มาร่วมอ่านในบทความจาก ‘Pink News’ โดย ‘VIC PARSONS’ ไปพร้อมกัน
.
เมื่อสองสามปีก่อนฉันไปเป็นแพทย์ประจำตัวคนไข้ท่านหนึ่งซึ่งเธอสั่งยาลดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน(ฮอร์โมนเพศชาย) คือยา ‘Spironolactone’ ที่จะช่วยให้ขนบนใบหน้าแข้งขาของเธอบางลง
.
หลังจากนนั้นฉันก็ออกใบนัดหมายโดยกำใบสังยาให้เธอไป จากนั้นเธอก็หยิบยา ‘Spironolactone’ ขึ้นมาลองใช้ แล้วพบว่าผลลัพท์ของมันลดลงไปมาก เธอจึงหยุดกิน แล้วถามฉันว่ารู้จักหญิงข้ามเพศคนไหนบ้างที่ต้องการใช้ยานี้ เพราะ ‘Transwomen’ ก็จำเป็นต้องเอายานี้ไปใช้กับตัวของพวกเขาเช่นเดียวกัน
.
ในความเป็นจริงผู้หญิงข้ามเพศในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่ไม่สามารถรับยา ‘Spironolactone’ ได้ แต่ถ้าหากต้องการจะกดฮอร์โมนเพศชายของตัวเองลง ‘Transwomen’ จำเป็นจะต้องติดต่อแพทย์และส่งต่อไปยังคลินิกที่รักษาเกี่ยวกับเพศ แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าขั้นตอนที่ยุ่งยาก คือระยะเวลาของการรอคอยที่จะได้รับการประเมินว่าสามารถใช้ยา ‘Spironolactone’ ได้ และ ‘Transwomen’ จะต้องรออีกหลายปีเลยทีเดียว
.
ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงฮอร์โมนไม่ได้มีแค่ตัวยา ‘Spironolactone’ เท่านั้น ฉันได้ลองติดต่อเพื่อขอใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สิ่งแรกที่ต้องเจอคือการพบแพทย์เพื่อฟังคำแนะนำ นั่นหมายความว่าฉันต้องทนรอนานหลายปีจากการประเมินของระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service : NHS) แต่ท้ายที่สุดฉันก็ถูกเรียกให้ไปพบนักสังคมสงเคราะห์กับนักจิตวิทยาเพื่อพูดคุยกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องตั้งแต่ตอนที่ฉันยังเด็ก ประสบการณ์ช่วงที่กำลังจะข้ามเพศ ยาวไปจนถึงสุขภาพจิตของฉัน และแล้วฉันก็ถูกวินิจฉัยว่าเป็นผู้มีความ “ผิดปกติทางเพศ” และได้รับอนุญาตให้เทคฮอรโมนรวมถึงผ่าตัดแปลงเพศสำเร็จ!
.
แต่ถ้าหากฉันเป็นผู้ชาย แล้วกำลังพูดตอนอายุย่างเข้าวัย 40 ความสนใจทางเพศต่ำ เป็นโรคซึมเศร้า แล้วค่อนข้างเจ้าอารมณ์ ฉันอาจจะเลือกหมอแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นทางเลือกแรก เพราะยังไงมันก็ได้ยาเหมือนกัน แพทย์ของฉันสามารถสั่งฉันตรวจเลือด หากระดับฮอร์โมนเพศชายของฉันต่ำ ฉันก็จะถูกส่งไปหาผู้เชี่ยวชาญต่อ(หลังจากรอมาหลายสัปดาห์ แต่ก็ดีกว่ารอมาหลายปี) ที่สามารถสั่งเจลเทสโทสเตอโรนให้ฉันใช้ หมายเหตุ : ไม่ต้องรอนานหลายปี และไม่ต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อพิสูจน์ตัวเองด้วย
.
ทั้งสองทางเลือกที่เล่ามาเป็นหนทางนำไปสู่การรับรองเพศสภาพได้ แต่วิธีในการจ่ายยากลับแตกต่างกันมากโข
.
การรับรองดูแลสุขภาพทางเพศ : ไม่ใช้แค่คนข้ามเพศ ไม่ใช่แค่ชาย – หญิงตรงเพศทั่วไป (Cis/cisgender) หรือชาวทรานซ์ที่ใช้มันเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองเท่านั้น
.
การทำหน้าอก – อีกหนึ่งศัลยกรรมที่ใช้ยืนยันเพศสภาพ การบำบัดด้วยฮอร์โมนในสตรีวัยหมดประจำเดือน การดูแลผู้ชายที่ผมล้าน ทั้งหมดล้วนเป็นการดูแลที่ต้องใช้การยืนยันทางเพศทั้งสิ้น
.
ฉันจะพูดอย่างยิ้ม ๆ ว่า เวลาคนไปออกกำลังกายที่โรงยิม สัก โกนขนขา สวมชุดชั้นใน ย้อมผมแต่งหน้ามันก็เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลที่จะยืนยันตัวตนทางเพศของพวกเขา – โดยไม่รู้ตัว
.
แต่หากย้อนกลับไปไม่มีคดีในชั้นศาลต่อกรณีที่มีการระดมทุนกว่า 250,000 ปอนด์ โดยชายตรงเพศ (CIS Men) ถึงการไม่ควรเข้าถึงไวอากร้า บางทีพวกเขาอาจใช้เงินไปในสิ่งที่ดีกว่านั้น
.
หรืออาจเป็นเพราะคนเหล่านั้นเป็นชาย – หญิงตรงเพศทั่วไป (Cis/cisgender)ที่ได้รับการรับรองเพศสภาพแล้ว เสื้อผ้าที่พวกเขาใส่ ผมที่ตัดเนี๊ยบ อัญมนี หรืออาจได้รับผ่าตัดทางเพศมาแล้วก็จะสามารถระบุอัตลักษณ์ทางเพศได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร มันธรรมดามาก ๆ แต่ความจริงคือเราไม่ได้มองแบบนั้น
.
แล้วเมื่อคนข้ามเพศจะแสดงรูปลักษณ์ผ่านการแต่งกาย การตัดผม ใส่เครื่องประดับ หรือในบางครั้งก็ต้องผ่านทางการแพทย์ อย่างการฉีดฮอร์โมนหรือการผ่าตัด กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับชาย – หญิงทั่วไป ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเพียงการดูแลสุขภาพซึ่งพวกเขาได้รับมันอยู่แล้วในปกติ แต่กลับกันการดูแลสุขภาพของคนข้ามเพศมันต่างกัน และด้วยเหตุนี้ชาย – หญิงไม่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดในการเข้าถึง แต่ทำไมถึงพยายามคัดค้านการที่จะให้คนข้ามเพศเข้าถึงบริการเหล่านั้นด้วยล่ะ?
.
และสำหรับเราการพูดในพื้นที่สาธารณะในแง่มุมต่าง ๆ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการแพทย์ เรารู้สึกว่าแพทย์จะบอกเราชัดเจนว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำกับร่างกายของตัวเองมันน่า “ขยะแขยง” – ภาษาที่มักพูดกันอยู่ในกลุ่มชาย – หญิง และคนข้ามเพศมักถูกละเมิดในช่วงที่ออกมาพูดในพื้นที่สาธารณะในเรื่องเพศที่อาจทำให้ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือผู้ชายที่กำลังย้อมผมหงอกต้องแปลกใจ
.
คำตอบไม่ได้จำกัดการเข้าถึงการยืนยันสุขภาพทางเพศของประชากรชาย – หญิง แต่เพียงเพื่อให้คนข้ามเพศเข้าถึงบริการต่าง ๆ ทางสุขภาพได้ง่ายมากขึ้น ฮอร์โมงควรเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน และควรมีวางจำหน่ายตามคลินิกหมอแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือคลินิกที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศภายใต้การยินยิมและเปิดเผย อักนัยหนึ่งคือทำไมยาบางชนิดถึงมีขายในตลาดขนาดใหญ่ ในขณะที่ยาบางอย่างก็ไม่มี ในขณะที่โคเดอีนและแอนตี้ฮิสตามีนวางอยู่ในเทสโก้ แต่เทสโทสเตอโรนทำไมถึงไม่มี?
.
อย่างก่อนหน้านี้ที่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนกับ ‘Spironolactone’ ไม่ใชสองฮอร์โมนนี้เพียงอย่างเดียวที่ทำให้เราเห็นความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงระหว่างคนข้ามเพศกับชาย – หญิงตรงเพศทั่วไป (Cis/cisgender) ฮอร์โมนเอสโตรเจนก็เป็นเหมือนกัน : มันมีให้เฉพาะผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิดในคลินิกแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และมันง่ายสำหรับพวกเขา แต่ยากสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศในการเข้าถึงยาชนิดเดียวกัน
.
จริง ๆ แล้วการดูแลสุขภาพให้คนข้ามเพศมันดีมาก ๆ เลยนะ ลองคิดดูนะว่า นักบำบัดทางคำพูดและภาษา นักกำจัดขน หรือศัลยแพทย์ที่สร้างอวัยวะให้กับชายแปลงเพศ ถูกฝึกฝนเพื่อมาให้บริการคนข้ามเพศไม่มากนัก บริการของกลุ่มอาชีพนี้มีไว้สำหรับผู้ชาย และผู้หญิงทั่วไปอยู่แล้ว พวกเขาจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับคนข้ามเพศ
.
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้กลุ่มที่เป็นหญิง หรือชายตรงตามเพศกำเนิดจะยินดีต่อแนวทางในการดูแลสุขภาพให้กับตัวเอง แต่ทำไมถึงต้องต่อต้านคนข้ามเพศที่จะทำในแบบเดียวกัน เราจึงต้องกลับไปตั้งคำถามว่า “ทำไม ‘cis men and cis women’ ต้องกังวลการดูแลสุขภาพร่างกายของคนข้ามเพศและนอนไบนารี?” บางทีอาจจะไม่ใช่วิธีการรักษาหรอกที่พวกเขาอยากจะมีปัญหาด้วย

อ้างอิง
https://www.pinknews.co.uk/2021/11/19/gender-affirming-healthcare-cis-people-trans/
ภาพจาก
https://www.theguardian.com/uk-news/2020/jun/14/trans-rights-government-reported-to-be-dropping-gender-self-identifying-plans

Follow ข่าวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: Home – Young Pride Club
Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub
@youngprideclub