NEWS : “เรียกผิดเรียกถูก” เอเชียใต้กังวลหนัก หลังประสบปัญหาการแปะป้ายนิยามเพศแบบผิดๆ ถูกๆ

เมื่อเดือนมีนาคม ‘Tashunuva Anan Shisher’ ปรากฎตัวบนจอทีวีของบังกลาเทศ และได้สร้างประวัติศาสตร์การเป็นนักข่าวหญิงข้ามเพศคนแรกของประเทศอย่างน่าภาคภูมิใจ ซึ่งต่อมารายการทีวี ‘Phirki’ ในอินเดียได้พูดถึงการใช้ชีวิตของ ‘ฮิจเราะห์’ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
.
ในเอเชียใต้มีศัพท์มากมายสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการระบุตัวเองว่าเป็นชาย หรือหญิง เว้นแต่ “ฮิจเราะห์” คำศัพท์ที่ถูกมองผ่านองค์การนอกภารัฐ (non-governmental organisation/organization: NGO) ว่าคือ ‘Transgender’ ในขณะที่รัฐบาลในอินเดีย และปากีสถานมองว่ามันหมายถึง ‘Third Gender’ หรือเพศที่สาม
.
เริ่มตั้งแต่ปี 2014 ทั้งสามประเทศ(อินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ) ยอมรับ’Third Gender’ เขามาจัดหมวดจัดหมู่ในกฎหมาย ผ่านมาในปี 2016 นักบวชมุสลิมกลุ่มเล็กๆ ในปากีสถานได้กำหนดสิทธิบางอย่างในการเป็น “ฮิจเราะห์” นั่นก็คือการอนุญาตให้ฮิจเราะห์สามารถแต่งงาน และพิธีฝังศพก็อนุญาตให้ฝังร่วมกับชาวมุสลิมทั่วไปได้ จนกระทั่งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมากฎหมายคุ้มครองคนข้ามเพศในอินเดียและปากีสถานมีนโยบายจ้างงานและลดหย่อนภาษีให้กับ “ฮิจเราะห์”
.
แล้วอะไรที่เป็นปัญหา? นักครีเอทัฟ รวมทั้งนักกฎหมายได้เน้นย้ำถึงปัญหาการคิดคำที่จะมากำหนดอัตลักษณ์ทางเพศของผู้คนมากมาย อาทิกฎหมายการคุ้มครองครองคนข้ามเพศที่มีคำว่า “ฮิจเราะห์” บัญญัติไว้ในตัวกฎหมาย แต่กลับนิยามว่าเป็นกลุ่ม ‘Intersex'(ผู้ที่ไม่สามารถระบุผ่านร่างกายว่าเป็นชายหรือหญิง) ซึ่งความเป็นจริงคำว่า “ฮิจเราะห์” จะถูกระบุเพศกำเนิดว่าเป็น ‘เพศชาย’ เพียงแต่ในภายหลังรู้สึกถึงความเป็น ‘หญิง’ นั่นจึงทำให้เกิดปัญหาในการนิยาม และถูกค้านโดยนักวิจารณ์ในความเหมือนกันระหว่างคำว่า “ฮิจเราะห์” กับ “คนข้ามเพศ”
.
ในประวัติศาสตร์ “ฮิจเราะห์” ถูกกล่าวถึงในศาสนาฮินดูว่าเป็น “ผู้ชายที่แต่งกายเป็นผู้หญิง” และพวกเขาเหล่านี้ก็มีหน้าที่มอบพรให้ผู้คนใยามเกิด และมักแต่งงานกับกลุ่มชนชั้นสูง สำหรับชุมชนของฮิจเราะห์ในอนุทวีป “ผู้นำของชุมชนจะได้รับที่ดินปลอดค่าเช่า และสิทธิในการรับเงินบริจาค” Jessica Hinchy จากมหาวิทยาลัยนันยางสิงคโปร์ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับฮิจเราะห์ในอินเดียช่วงยุคอาณานิคมกล่าว
.
อย่างไรก็ตาม มีความเชื่อว่า “ฮิจเราะห์” เป็นผู้ที่มีอำนาจในการมอบพรให้แก่ผู้อื่น ในทางกลับกันก็สามารถแปรเปลี่ยนจากคำอวยพรเป็นคำสาปแช่งแทนได้ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ยังคงเกาะเกี่ยวกับวัฒนธรรมอินเดียอย่างเหนียวแน่นพอๆ กับชาวมุสลิมในบังกลาเทศ และปากีสถาน
.
ช่วงศรรตวรรษที่ 19 เมื่ออินเดียถูกยึดครองเป็นอาณานิคมของอังกฤษ นิยามของฮิจเราะห์ก็ถูกเปลี่ยนไปเป็น “ขันธี” แทน แต่โดยปกติแล้วขันธีจะสงวนไว้สำหรับเพศชายเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนิยามในครั้งนี้ส่งผลให้ฮิจเราะห์ต้องสูญเสียสิทธิ์บางอย่าง เช่นการรับความอุปถัมป์จากรัฐ ที่สำคัญฮิจเราะห์ยังถูกกฎหมายห้ามรักร่วมเพศตามรังควานถึงขีดสุด!
.
ทั้งนี้ทั้งนั้นในศรรตวรรษที่ 20 สถานการณ์ของ “ฮิจเราะห์” ก็กลับมามีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากการเชิญให้ฮิจเราะห์มากล่าวคำอวยพรในงานแต่งและงานวันเกิดจนเกิดกลายเป็นธุรกิจของชุมชนคนข้ามเพศ ถ้าหากจะมีงานที่ฮิจเราะห์ไม่ได้ไปก็คงจะมีแต่งานสังสรรค์ส่วนตัวเท่านั้น ขณะเดียวกันรัฐบาลในภูมิภาคก็กำลังลุกลี้ลุกลนในการประกันสิทธิ์ให้กับฮิจเราะห์ที่ยังเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ซึ่งก็ถือเป็นความก้าวหน้ามากแล้วสำหรับประเทศที่ยังมีกฎหมายต่อต้านการรักร่วมเพศอย่างปากีสถานและบังกลาเทศ
.
ในความเชื่อของชาวมุสลิม หากพระเจ้าสร้างร่างกายของมนุษย์ออกมาเป็นลักษณะใดก็ตาม สาวกของพระองค์ก็ต้องยอมรับในลักษณะร่างกายนั้นด้วย ซึ่งการเกิดเป็น Intersex แตกต่างจากการเป็นเกย์ เหตุนี้ Intersex จึงไม่ขัดต่อกฎศาสนา และไม่น่าแปลกใจหากฮิจเราะห์บางคนจะไม่พอใจในการลบล้างตำนานเก่าก่อนแล้วเอาพวกเขาไปจัดกลุ่มรวมกับกลุ่มเกย์หรืเลสเบี้ยน ซึ่งในชุมชนของการเป็น LGBTQ+ ก็มีผู้ออกมาเปิดเผยว่าแท้จริงแล้วพวกเขาแทบจะมีนิยามที่แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง
.
อย่างไรก็ตาม “ฮิจเราะห์” ยังคงได้รับสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษี แต่สิทธิด้านอื่นๆ กลับถูกกีดกันขัดขวาง ซึ่งเป็นผลมาจากการนิยามศัพท์ที่ถูกตีความตามความเข้าใจ แต่ถ้าหากฮิจเราะห์ต้องการรับความคุ้มครองจากกฎหมายฉบับใหม่นี้ ฮิจเราะห์ก็จำเป็นจะต้องถูกปั้มตราว่าเป็น ‘คนข้ามเพศ’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนำซ้ำยังต้องมีหลักฐานทางการแพทย์มายืนยัน แน่นอนว่าฮิจเราะห์ส่วนใหญ่ไม่ผ่านในขั้นตอนนี้ การรับรองสิทธิ์จึงมีความล้มเหลว เพราะรัฐบาลเลือกที่จะนิยาม “ฮิจเราะห์” ให้เป็นกลุ่ม Intersex แทน
.
ความพยายามในการแปะนิยามให้ฮิจเราะห์เผยให้เห็นถึงการแบ่งแยกชัดเจน คำว่า ‘Transgender’ มาถึงเอเชียใต้ในลักษณะของการให้ทุนสนับสนุนจากต่างชาติในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักเคลื่อนไหวว่าคำนี้ดึงดูดผู้ให้ทุนมากกว่า และในอีกมุมมองก็อาจจะเป็นการกดดันรัฐบาลให้มีความกระตือรือร้นในการพิจารณาสิทธิ์แก่ฮิจเราะห์ด้วย
.
กลับกัน ‘Transgender’ ในอินเดียก็ยืนหยัดที่จะแสดงตัวตนว่าการเป็นคนข้ามเพศนั้นแตกต่างจากการเป็นฮิจเราะห์ในแคมเปญ “I am not a hijra” ซึ่งแสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างทรานซ์กับฮิจเราะห์ Aniruddha Dutta จากมหาวิทยาลัยยูเทรค ก็ตั้งข้อสังเกตุว่าในตะวันตกความเป็น “ฮิจเราะห์” ก็มีนัยยะที่แตกต่างจาก “คนข้ามเพศ” เช่นเดียวกัน
.
แม้จะแบ่งแยกกันในเอเชียใต้แต่ฮิจเราะห์บางคนก็ยังระบุตัวเองว่าเป็นคนข้ามเพศ เช่น Saro Imran ผู้ดูแลศูนย์ฝึกทักษะสำหรับคนข้ามเพศในเมืองมูลตาล รัฐปัญจาบของปากีสถาน กล่าวถึงกลุ่มคนที่เข้ามาผ่าตัดแปรงเพศ แต่อีกหลายคนก็หลีกเลี่ยงที่จะทำ Srabonti Srabon ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เลือกจะไม่แปรงเพศเพราะมองว่า “ฮิจเราะห์” มีอัตลักษณ์ตายตัว “พวกเขา(ฮิจเราะห์)มาจากครอบครัวยากจน และไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว” เธอกล่าว เธอมองว่าการถูกขับไล่ออกจากการเป็นสมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์นั้น ที่ทำให้เธอหันมาเข้าร่วมกับฮิจเราะห์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี แต่สำหรับ “คนข้ามเพศ” Srabon มองว่ามันเพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถจะเอามารวมกันได้
.
อ้างอิง : https://www.economist.com/asia/2021/09/18/south-asias-non-binary-communities-worry-about-losing-their-identity?fbclid=IwAR3Jinl4c7CBc4JqppV8dEL5m3MG3oLs0YK-o-Gt1yI3J7ZxcQnrLrxmRlA

รูปภาพ : https://www.momspresso.com/parenting/souls-of-words/article/who-are-they-mom-the-third-gender-hijo1g8wc5ma