นอกจากธงสีรุ้งที่เราเห็นกันมาตลอด Pride Month แล้ว 🏳️🌈 ยังมีธงสีและแบบอื่นๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายทางเพศอีกด้วย ในโพสต์นี้ Young Pride Club จะพามารู้จักกับธงต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่มีรสนิยมและเพศวิถีที่คุณอาจจะไม่เคยรู้ เพื่อให้เราทุกคนได้รู้ว่าไม่ว่าเราจะเป็นเพศไหน เราย่อมมีตัวตนและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ 🌈💕
Gilbert Baker Pride Flag
ในปี 1977 Milk Harvey นักการเมืองเกย์คนแรกของอเมริกา ได้เชิญชวนให้ Gilbert Baker ออกแบบธงที่จะเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชุมชนชาวเกย์ ซึ่ง Gilbert Baker ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเพลง “Over the Rainbow” ของเกย์ไอคอน Judy Garland ทำให้เกิดเป็นธงสีรุ้งรุ่นที่ 1 โดยแต่ละสีในธงสายรุ้งก็จะมีความหมายดังนี้
สีชมพู: เพศ
สีแดง: ชีวิต
สีส้ม: การเยียวยาฟื้นฟู
สีเหลือง: แสงอาทิตย์
สีเขียว: ธรรมชาติ
สีฟ้าเทอร์ควอยส์: เวทย์มนต์/ศิลปะ
สีคราม: ความสงบสุข
สีม่วง: จิตวิญญาณ
1978-1999 Pride Flag
หลังจากที่ Milk Harvey ถูกยิงและเสียชีวิต ก็มีความต้องการใช้ธง Pride Flag เพื่อรำลึกถึงสิ่งที่ Milk Harvey ได้ทำและบรรลุเป้าหมายเพื่อการสนับสนุนชุมชนชาวเกย์ และธง Pride Flag ก็ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมาก จนทำให้ผ้าขาดตลาด บริษัท Paramount Fabric Company ก็เลยผลิตธงรุ่นนี้ออกมาขาย และ Gilbert Baker เองก็ปรับสีธงที่ใช้ใหม่ เพราะไม่สามารถหาผ้าสีชมพูได้
Traditional Gay Pride Flag
ความยุ่งยากซับซ้อนในการผลิตธง 7 สีจากในรุ่นที่แล้ว ทำให้มีการตัดสีฟ้าเทอร์ควอยส์ออกเพื่อให้มีจำนวนสีเป็นเลขคี่พอดี และในปี 1979 ชุมชนเกย์ได้ใช้ธง 6 สีนี้ไปแขวนทั่วเสาไฟในเมืองซานฟรานซิสโก และกลายมาเป็นธงที่ใช้กันแพร่หลายและคงคุ้นตาพวกเรากันเป็นอย่างดี
Philadelphia People Of Color Inclusive Flag
ถึงแม้ว่าชุมชน LGBT จะเริ่มมีสมาชิกที่มากขึ้น แต่กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศและเป็นคนผิวสีเองก็ยังไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในชุมชนด้วย เมือง Philadelphia ก็เลยเลือกเพิ่มสีดำและสีน้ำตาลลงไปในธงเพื่อแสดงให้รู้ว่าคนผิวสีถูกนับรวมอยู่ในชุมชนนี้ด้วย (เมืองฟิลาเดลเฟียเองก็เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการเหยียดเพศในบาร์เกย์จนต้องสั่งอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจเรื่องการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติด้วย) ในตอนแรกนั้น คนผิวขาวก็ได้ออกมาต่อต้าน โดยให้เหตุผลว่าธงสีรุ้งเองก็เป็นตัวแทนของคนทุกสีผิวอยู่แล้ว แต่จากที่ Lena Waithe เลือกสวมชุดที่มีสีธงของรุ่นนี้ในงาน Met Gala 2018 ก็แสดงให้เห็นว่าธงรุ่นนี้เองก็ยังไม่ถูกลืมหรือทอดทิ้ง
Progress Pride Flag
ธงรุ่นนี้ต่อยอดมาจากธงรุ่น Philadelphia โดย Daniel Quasar ผู้ที่ระบุตัวตนว่าเป็นเควียร์และนอนไบนารี เป็นผู้ออกแบบ ธงรุ่นนี้มีสีขาว ชมพู และฟ้าอ่อน แทนสีของชาวทรานสเจนเดอร์ และมีสีน้ำตาลและดำแทนกลุ่มคนผิวสีและคนที่เสียชีวิตให้โรคเอดส์
Bisexual Flag
ธงสำหรับไบเซ็กชวล ออกแบบโดย Michael Page ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัญลักษณ์ ‘Biangles’ แห่งการรักร่วมสองเพศในอดีต โดยแสดงให้เห็นถึงการเหลื่อมกันระหว่างสีที่ถูกเหมารวมว่าเป็นสีของเด็กชายและเด็กหญิง คือสีน้ำเงินและสีชมพู
Pansexual Pride
ธงรุ่นนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2010 โดยเป็นธงที่แสดงถึงความเป็นแพนเซ็กชวล ซึ่งสนใจและสามารถมีความรักได้กับคนทุกเพศ โดยสีชมพูสื่อถึงผู้หญิง สีเหลืองสื่อถึงนอนไบนารีและคนที่ไม่กำหนดเพศ และสีน้ำเงินสื่อถึงผู้ชาย
Asexual Flag
ธงสำหรับ Asexual เองก็ถูกคิดค้นในปี 2010 โดยได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้ของหน่วยงาน Asexual Visibility and Education Network (เครือข่ายการศึกษาและการมองเห็นผู้ไม่ฝักใจทางเพศ) ธงนี้ได้สือถึงตัวตนทางเพศที่หลากหลาย สีดำจะสื่อถึง Asexual (กลุ่มที่ไม่ฝักใจทางเพศ) สีเทาสื่อถึง Graysexual (กลุ่มที่ลื่นไหลระหว่างมีความสนใจทางเพศและไม่ฝักใจทางเพศ) และ Demisexual (กลุ่มที่ไม่ถูกดึงดูดทางเพศ แต่มีความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับคู่ของตน) สีขาวสื่อถึงกลุ่มที่เป็นพันธมิตรและเป็นคู่กับกลุ่ม Asexual และสีม่วงสื่อถึงชุมชนของ LGBT
Labrys Lesbian Pride Flag
ธงสำหรับกลุ่มเลสเบี้ยนไม่เป็นที่นิยมหรือถูกใช้อย่างแพร่หลายนัก ธงถูกออกแบบในปี 1999 โดย Sean Campbell กราฟิกดีไซน์เนอร์ที่เป็นเกย์ โดยมีสัญลักษณ์ของ Labrys ซึ่งเป็นอาวุธของชาวแอมะซอนที่เหมือนกับขวาน และเป็นชื่อของนิตยสารที่ปลุกพลังเพื่อนหญิง
Polyamory Flag
ธงของการมีความสัมพันธ์แบบมีความรักหลายคน ใช้สัญลักษณ์พาย (π) ซึ่งมีตัวอักษร P เดียวกันกับคำว่า Polyamory โดยธงนี้ถูกใช้เพื่อชูความสัมพันธ์ที่สามารถเลือกคู่ได้ไม่จำกัด นอกจากนี้ยังใช้สีทองกับสัญลักษณ์พาย เพื่อสื่อถึงความผูกพันธ์ทางอารมณ์ที่มีต่อเพื่อนและคู่รักว่ามีคุณค่ามากกว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่เน้นกามารมณ์เพียงเท่านั้น
Intersex Flag
ธง Intersex ออกแบบโดยองค์กร Intersex International Australia ในปี 2013 เดิมทีทำมาเพื่อแสดงถึงสีที่ไม่สื่อถึงเพศสภาพ และเพื่อเฉลิมฉลองการใช้ชีวิตอยู่นอกกรอบกำหนดทางเพศ
Transgender Flag
ธงของกลุ่มทรานสเจนเดอร์หรือกลุ่มคนข้ามเพศ ออกแบบโดยชาวทรานสเจนเดอร์ Monica Helms ในปี 1999 โดยใช้สีฟ้าอ่อนซึ่งเป็นสีที่ถูกใช้แทนเด็กชาย สีชมพูแทนเด็กหญิง และมีสีขาวอยู่ตรงกลางเพื่อแทนผู้ที่กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือข้ามเพศ ผู้ที่รู้สึกว่าตนเป็นเพศกลางหรือไม่มีเพศ และผู้ที่เป็นเพศกำกวม นอกจากนี้แถบสีที่เท่ากันยังบอกอีกว่าไม่ว่าเราจะเลือกบินไปทางไหน ก็จะเป็นทางที่ถูกต้องเสมอ ซึ่งเป็นการสื่อถึงคนที่คอยตั้งคำถามถึงความถูกต้องในชีวิตของตัวเอง
Genderfluid/Genderflexible Flag
ธงนี้แสดงถึงการผันผวนและความยืดหยุ่นทางเพศวิธีของกลุ่มคนที่มีความลื่นไหลทางเพศ โดยธงมีทั้งสีที่แสดงถึงความเป็นหญิง ความเป็นชาย และความเป็นตรงกลางระหว่างทั้งสองเพศ
สีชมพู: ความเป็นหญิง
สีขาว: ความไร้เพศ
สีม่วง: การผสมผสานระหว่างความเป็นชายและหญิง
สีดำ: ทุกเพศ + เพศที่สาม
สีน้ำเงิน: ความเป็นชาย
Genderqueer Flag
ธง Genderqueer ออกแบบโดย Marilyn Roxis ในปี 2011 โดยมีสีม่วงลาเวนเดอร์แทนความก้ำกึ่งทางเพศ (Androgyny) สีขาวแทนกลุ่มคนไร้เพศ และสีเขียวแทนกลุ่มนอนไบนารี ธงนี้ยังถูกเรียกว่าเป็นธงของนอนไบนารีอีกด้วย
Lipstick Lesbian Flag
ธง Lipstick Lesbian เป็นสัญลักษณ์แทนของกลุ่มเลสเบี้ยนที่มีความเป็นหญิงสูง หรือที่เรียกกันอย่างน่ารักว่า “Lipstick Lesbians” แต่ธงนี้ก็ไม่ได้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
Leather, Latex, & BDSM Flag
ถึงแม้ว่ากลุ่มคนเพศทางเลือกจะไม่ได้มีรสนิยมชื่นชอบเซ็กส์ที่อยู่นอกเหนือจากบรรทัดฐานปกติ กันมาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าชุมชนคนที่ชื่นชอบในรสนิยมแบบนี้ก็มีไม่น้อย และมีธงที่ใช้แทนกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ด้วย
ธงนี้ถูกออกแบบโดย Tony DeBlase ในปี 1989 ธงนี้ไม่ได้เป็นเพียงธงของกลุ่มเกย์เท่านั้น แต่ยังเป็นธงของกลุ่มคนที่ชอบเครื่องหนัง และเซ็กส์แบบ BDSM อีกด้วย
Bear Brotherhood Flag
ธงนี้ถูกใช้แทนกลุ่มเกย์หุ่นหมี ขนดก กล้ามเนื้อแน่น ออกแบบโดย Craig Byrnes ในปี 1995 สำหรับ International Bear Brotherhood โดยใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีขนของหมีที่อยู่ในป่า
Rubber Pride Flag
ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มที่มีรสนิยมชื่นชอบอุปกรณ์ยางและลาเท็กซ์ ออกแบบโดย Peter Tolos และ Scott Moats ในปี 1995 เพื่อแทนกลุ่มคนที่มีความชอบเหมือนกัน และสะท้อนถึงความเร้าอารมณ์ สัมผัสยั่วยวน และความหลงใหลในอุปกรณ์ยาง
สีดำ: ตัณหาต่ออุปกรณ์ยางสีดำเงางาม
สีแดง: ความลุ่มหลงในอุปกรณ์ยางและผู้สวมชุดยาง
สีเหลือง: แรงขับที่มีต่อการเล่นอุปกรณ์ยางและจินตนาการ
Polysexual Flag
Polysexual กับ Pansexual มีความแตกต่างกันคือ Polysexual จะสนใจในหลายๆ เพศ แต่ไม่ใช่กับทุกเพศ และ Polysexual จะมีความเหมือนกับ Bisexual ตรงที่ทั้งสองเพศจะถูกดึงดูดจากความเป็นชายและหญิง มากกว่าจะมองว่าเป็นเพศใดเพศหนึ่ง
สีชมพู: ผู้หญิง
สีน้ำเงิน: ผู้ชาย
สีเขียว: ความสนใจต่อกลุ่มคนที่ไม่ระบุเพศ
Agender Flag
ในขณะที่กลุ่ม Genderqueer เลือกที่จะแหกกฎที่กำหนดความเป็นเพศ แต่กลุ่ม Agender กลับปฏิเสธแนวคิดเรื่องเพศโดยสิ้นเชิง ธงของกลุ่ม Agender มีแถบสีขาวและดำที่สื่อถึงความไร้เพศ สีเขียวที่สื่อถึงความผกผันทางเพศ และสีม่วงเข้มที่สื่อถึงนอนไบนารี
Aromantic Flag
ธงของ Asexual เลือกใช้สีม่วงเพื่อแสดงถึงความไม่สนใจทางเพศ แต่ธงของกลุ่ม Aromatic เลือกใช้สีเขียวเพื่อแทนกลุ่มคนที่มีชีวิตโดยไม่มีความสนใจด้านอารมณ์โรแมนติก
Non Binary Flag
ธง Non Binary ถูกออกแบบโดย Kye Rowan เยาวชนอายุ 17 ปี ในปี 2014 เพื่อแทนกลุ่มนอนไบนารีที่รู้สึกว่าธง Genderqueer ไม่ได้สื่อถึงตนเองได้อย่างชัดเจน โดยเพิ่มสัญลักษณ์เข้าไปเพื่อเป็นทางเลือกในการสื่อถึงตัวตนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
สีเหลือง: เพศที่อยู่นอกเหนือจากขั้วไบนารี
สีขาว: กลุ่มคนทุกเพศ (สีขาวสะท้อนออกมาได้ทุกสี)
สีม่วง: กลุ่มคนที่เป็นชายและหญิง หรือมีความลื่นไหลระหว่างสองเพศ
สีดำ: กลุ่มคนที่ไม่มีเพศ ไม่มีสีผิวเป็นข้อกำหนด
Pony Flag
Pony ก็จัดเป็นหนึ่งในรสนิยมทางเพศที่อยู่เหนือบรรทัดฐาน โดยการสวมบทบาทเป็นม้า สวมถุงเท้ากีบม้า หูม้า อาน และรถลาก โดย Carrie P ได้ออกแบบธงนี้ขึ้นในปี 2007 และใช้สีดำ ซึ่งสื่อความหมายเหมือนกับกลุ่มชื่นชอบเครื่องหนัง
Straight Ally Flag
ธงนี้ถูกใช้แทนความหมายว่า “ฉันไม่ใช่คนรักเพศเดียวกัน แต่สนับสนุนกลุ่ม LGBT” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มชายจริงหญิงแท้ได้ร่วมเฉลิมฉลองในขบวน Pride ได้โดยไม่รู้สึกเขินอาย
อ้างอิง : https://www.pride.com/pride/2021/5/25/complete-guide-queer-pride-flags#media-gallery-media-25
Follow ข่าวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub