เยอรมนี ห้ามแพทย์ผ่าตัดศัลยกรรมทารกที่เกิดมาเป็นเพศกำกวม

เยอรมนี ห้ามแพทย์ผ่าตัดศัลยกรรมทารกที่เกิดมาเป็นเพศกำกวม

ฝ่ายนิติบัญญัติ ประเทศเยอรมนี ลงมติเห็นชอบออกกฎหมาย ห้ามแพทย์ทำการผ่าตัดทารกที่เกิดมามีลักษณะเป็นเพศกำกวม ซึ่งถือเป็นการกำหนดเพศโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้กฎหมายข้อนี้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา และทำให้ประเทศเยอรมนีกลายเป็นประเทศที่ 3 ที่ใช้กฎหมายนี้
.
ขณะเดียวกันมีเสียงวิจารณ์จากองค์กรชั้นนำด้านสิทธิของเพศกำกวม อย่าง The Organisation Intersex International (OII) เยอรมันและยุโรป รวมถึง Intergeschlechtliche Menschen ที่มองว่าเป็นข้อจำกัดในการป้องกันการวินิจฉัยโรคที่เป็นความผิดปกติในด้านการพัฒนาทางเพศ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอาจส่งผลอันตรายต่อเด็กได้ในระยะยาว
.
โดยรวมแล้วมีเด็กประมาณ 1.7% ที่เกิดมามีลักษณะเป็นเพศกำกวม ซึ่งแสดงออกมาได้หลากหลาย เช่น โครโมโซม อวัยวะเพศ ฮอร์โมน และลักษณะทางเพศอื่น ๆ ที่ไม่ได้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางการแพทย์โดยทั่วไปว่าเป็น เพศชาย หรือ เพศหญิง
.
จากผลสำรวจของ The University of Bochum พบว่า ในระหว่างปี 2005 ถึง ปี 2016 มีเด็กที่เป็นเพศกำกวม อายุต่ำกว่า 10 ปี ในเยอรมนีจำนวน 1,871 คน ที่ได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมให้มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย โดยนักเคลื่อนไหวเพศกำกวมได้มองว่า ศัลยแพทย์ไม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่าตัดเด็กเหล่านั้นเพียงเพราะความงามเป็นหลัก และเด็กเหล่านั้นยังเด็กเกินไปที่จะตัดสินใจยินยอมให้แพทย์ทำการผ่าตัดได้ด้วยตนเอง
.
ขณะเดียวกันองค์การสหประชาชาติ ได้วิจารณ์การศัลยกรรมที่ส่งผลเสียกับเด็กในระยะยาว ทั้งความเจ็บปวด การไร้ความรู้สึกทางเพศ และภาวะผิดปกติทางการเจริญพันธุ์แบบถาวร โดยผู้สนับสนุนกฎหมายข้อนี้ได้ออกมาโต้แย้งการผ่าตัดของแพทย์ที่ส่งผลข้างเคียงและบาดแผลกับเพศกำกวม สอดคล้องกับผลวิจัยจากสถาบันแคโรลินสกา ในปี 2018 ที่พบว่าประชากรที่เป็นเพศกำกวมมีแนวโน้มที่จะพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าประชากรทั่วไปถึง 4 เท่า และมีผลวิจัยที่คล้ายคลึงกันในอเมริกาที่ชี้ชัดว่ามีผู้ที่เป็นเพศกำกวมพยายามฆ่าตัวตายถึง 32% ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดและวิตกกังวล
.
โดย PLOS ONE วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับความสำคัญในการพิจารณาถึงการผ่าตัดว่าส่งผลอย่างไรต่อบุคคลเพศกำกวม เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพผ่านการดำเนินชีวิต เพื่อประกอบการตัดสินใจในการส่งเสริมความเป็นอิสระของร่างกาย และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก
.
อย่างไรก็ตาม OII ยุโรป มองว่ากฎหมายนี้ยังไม่ได้กำหนดโทษที่เฉพาะเจาะจงกับแพทย์ที่ทำการผ่าตัดบุคคลเพศกำกวมโดยไม่มีจำเป็น โดย Charlotte Wunn ผู้บริหาร Intergeschlechtliche Menschen เห็นว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของเพศกำกวม แต่กฎหมายนี้ก็ยังมีช่องโหว่อยู่มาก
.
นอกจากนี้ Scott Wiener สมาชิกวุฒิสภารัฐแคลิฟอร์เนีย เคยเสนอกฎหมายนี้ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ถูกคณะกรรมาธิการปัดตกอยู่เรื่อยมา ถึงแม้ว่ากฎหมายนี้จะยังไม่ผ่านการเห็นชอบในอเมริกา แต่โรงพยาบาลหลายแห่งก็ได้ประกาศยุติการผ่าตัดศัลยกรรมให้กับทารกเพศกำกวม นับว่าเป็นสัญญาณอันดีที่กฎหมายคุ้มครองบุคคลที่มีภาวะเพศกำกวมอาจผ่านการพิจารณาในอเมริกา เร็ว ๆ นี้

อ้างอิง: https://www.them.us/story/germany-banned-intersex-surgeries-on-infants
ภาพจาก: Maheshkumar Painam on unsplash.com

Follow ข่าวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub
YoungPrideClub #intersex #surgeries #Germany