“Pride Index” ดัชนีแห่งความหลากหลายทางเพศ บริษัทในญี่ปุ่นแคร์เพศทางเลือกแค่ไหน วัดได้จากตรงนี้

“Pride Index” ดัชนีแห่งความหลากหลายทางเพศ บริษัทในญี่ปุ่นแคร์เพศทางเลือกแค่ไหน วัดได้จากตรงนี้

.

ปี 2016 องค์กร Work with Pride ได้ประกาศ “Pride Index” ออกมา หลังจากหารือกับสมาชิก 24 บริษัทนานกว่า 6 เดือนในการกำหนดดัชนีตัวแรกในญี่ปุ่น เพื่อใช้วัดผลว่าบริษัทและองค์กรต่างๆมีการสนับสนุนให้กลุ่ม LGBT ได้มีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรมากน้อยแค่ไหน

.

ดัชนี Pride Index ประกอบด้วยเสา 5 ต้นที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาวัดผลตามที่เขียนด้านล่างนี้ค่ะ

  1. Action Declaration = มีการประกาศนโยบาย คือในองค์กรมีการประกาศอย่างชัดเจนทั้งภายในองค์กรและต่อสาธารณะชน (เช่นเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต) หรือไม่ว่าในองค์กรมีการดำเนินนโยบายในการทำงานที่ไม่เลือกปฏิบัติให้ต่อกลุ่ม LGBT โดยมีข้อแนะนำว่านักศึกษาที่เรียนจบแล้วต้องการมาสมัครงานที่บริษัทควรได้รับทราบนโยบายนี้ด้วย
  2. Representation: LGBTA Network = มีการตั้งกลุ่มเครือข่ายเพื่อเป็นตัวแทนในการสนับสนุน LGBT หรือไม่ เช่นมีการจัดตั้งศูนย์บริการให้ข้อมูลและความช่วยเหลือ มีการให้ร้องทุกข์ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อในกรณีที่ประสบปัญหาในการทำงานหรือไม่
  3. Inspiration: Raising Awareness = ในช่วงสามปีที่ผ่านมา องค์กรได้มีการจัดกิจกรรมใดๆเพื่อกระตุ้นความตะหนักรู้ถึงความสำคัญในการให้ความเท่าเทียมในสถานที่ทำงานกับเพศวิถีทางเลือก (Sexual minority) หรือไม่ เช่น มีการจัดสัปดาห์รณรงค์เกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือจัดให้มีการเทรนนิ่งให้ความรู้หรือไม่
  4. Development: Human Resources Management Policy and Programs = ในองค์กรมีนโยบายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์และโครงการใดๆที่สนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมให้กับกลุ่มเพศทางเลือกหรือไม่ เช่น มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือเทียบเท่ากับคู่แต่งงานทั่วไปหรือไม่ อนุญาตให้พนักงานลาไปผ่าตัดแปลงเพศได้หรือไม่ มีห้องน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อที่ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้โดยไม่แบ่งแยกเพศหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้นโยบายเหล่านี้ต้องเป็นที่รับทราบโดยทั่วกันทั้งองค์กร ไม่ใช่รู้กันแค่ในกลุ่มพนักงานกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  5. Engagement/Empowerment: Social Responsibility and External Activities = องค์กรมีการสนับสนุนให้มีกิจกรรม CSR หรือเป็นสปอนเซอร์งานอีเวนท์ที่สนับสนุนแนวคิดความเท่าเทียมกันทางเพศสำหรับเพศทางเลือกหรือไม่ เช่นจัดอีเวนท์ให้ความรู้แก่เยาวชน เป็นต้น

.

สำหรับบริษัทที่ควรค่าแก่การกล่าวถึงในฐานะที่ได้รางวัล Gold Award จากองค์กร Work with Pride ถึงสามปีซ้อนคือบริษัท Softbank ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะบริษัทที่มีธุรกิจหลักคือธุรกิจสัญญาณบรอดแบนด์และมีธุรกิจย่อยในเครืออีกจำนวนมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่า Softbank นั้นได้ดำเนินนโยบายตามเสาหลักดัชนีทั้ง 5 ต้นได้เป็นที่น่าพอใจ เช่น

  1. Softbank นั้นให้สวัสดิการกับพนักงานที่มีคู่ชีวิตเป็นเพศเดียวกัน โดยจะได้รับสิทธิ์สวัสดิการเหมือนคู่แต่งงานทั่วไปทุกประการ โดยสวัสดิการดังกล่าวได้แก่เงินช่วยเหลือเพื่อแสดงความยินดีและแสดงความเสียใจในโอกาสต่างๆและสามารถใช้สิทธิ์ในการลาแต่งงานได้
  2. Softbank เข้าร่วมงาน Tokyo Rainbow Pride 2019 ซึ่งเป็นงานอีเว้นท์สนับสนุน LGBT ที่ใหญ่มากงานหนึ่งในระดับเอเชีย
  3. ได้จัดให้มีโต๊ะภายในบริษัทสำหรับให้คำปรึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับ LGBT และจัดให้มี e-learning เพื่อให้ความรู้
  4. ให้ส่วนลดสำหรับสมาชิกในครอบครัวของลูกค้า Softbank ที่มีคู่ชีวิตเป็นเพศเดียวกัน โดยทางลูกค้าต้องยื่นเอกสารทางกฏหมายที่รับรองความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน (same-sex partnerships) ประกอบการสมัคร

.

เป็นเรื่องน่าดีใจมากที่สังคมญี่ปุ่นกำลังเปิดรับแนวคิดการไม่เลือกปฏิบัติทางเพศมากขึ้นเรื่อยๆและมีพัฒนาการทางแนวคิดที่น่าสนใจ

.

องค์กรไทยสนใจรับดัชนีแบบนี้ไปใช้บ้างไหมคะ?

.

โดย คอลัมน์นิจ

.

อ่านเพิ่มเติม: https://youngprideclub.com/2020/08/04/pride-indexjapen/

.

อ้างอิง:

-https://www.japanfs.org/en/news/archives/news_id035659.html

-http://workwithpride.jp/pride-i/#prideEnglish

.

Follow ข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/

Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub #YoungPrideClub #สังคมญี่ปุ่น#บริษัทญี่ปุ่น