“พยายามแค่ไหนก็ไม่เคยพอ” วงการ K-pop กับเส้นทางไอดอล ที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

by | Jul 23, 2020 | Entertainment, Play | 0 comments

ในยุคปัจจุบันเมื่อกล่าวถึง ธุรกิจหรือวงการของเพลงทั่วโลก คงไม่มีใครไม่รู้จัก K-pop หรืออุตสาหกรรมเพลงเกาหลี ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมเพลงที่ได้รับความนิยมและมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ตามรายงานหัวข้อ ‘Global Music Report 2019 ของสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ ( International Federation of the Phonographic ) ได้ระบุไว้ว่าในปี ค.ศ.2018ตลาดเพลงเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตมากถึง ร้อยละ 17.9 และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนสามารถทำให้เอเชียกลายเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตด้านธุรกิจเพลงเป็นอันดับ 2 ของโลก

.

ซึ่งตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการเป็นตัวแสดงหลักของการทำให้อุตสาหกรรมเพลงเกาหลีเป็นที่โด่งดังก็คือ ไอดอล (Idol) ที่เป็นบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความสามารถและมีอิทธิพลต่อการเป็นแบบอย่างหรือไอคอนในการสร้างแรงบันดาลใจ ต่อมนุษย์ได้

.

โดยหากจะกล่าวถึงไอดอล ใครหลายคนอาจจะมองว่า บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพ ชื่อเสียง น่ายกย่อง และมีภาพลักษณ์ที่ดีในสังคม แต่ใครจะรู้ว่าการได้มาของสิ่งเหล่านั้นต้องแลกมาด้วย การฝึกฝน ความอดทนและการถูกพัฒนาความสามารถที่มีความจริงจังอย่างเข้มงวดในระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งไม่สามารถการันตีได้ว่าการฝึกฝนอย่างเป็นเวลานานของแต่ละบุคคลนั้นจะได้รับเลือกให้เป็นศิลปินเพื่อเข้าสู่วงการ เรียกอีกอย่างว่า การเดบิวท์) ต่อไปหรือไม่ ซึ่งปกติแล้วการเป็นไอดอลของประเทศเกาหลีใต้นั้นจะต้องผ่านบททดสอบที่หนักหน่วงและยากลำบากในการเป็นศิลปิน

.

โดยในแต่ละบททดสอบนั้น จะเริ่มต้นมาจาก การออดิชั่น (Audition) ที่เป็นการทดสอบความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการร้อง การเต้น การแสดง หรือความสามารถพิเศษอื่นๆ ในการแสดงศักยภาพต่อสังกัดเพลง ซึ่งมักจะเป็นไปใน 2 รูปแบบคือ การ Audition ตามที่แต่ละสังกัดได้เปิดรับสมัคร ทั้งแบบออฟไลน์ และ แบบออนไลน์

.

โดยเน้นเฉพาะกลุ่มไปในกลุ่มของเด็กวัยรุ่น อายุ 12-20 ปี เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกเพื่อเป็นศิลปิน อีกหนึ่งรูปแบบ จะเป็นการคัดเลือกจากแมวมองของแต่ละสังกัด ซึ่งจะเป็นการหาบุคคลที่ตรงตามคุณสมบัติที่สังกัดต้องการ ตัวอย่างเช่น สังกัด SM Entertainment จะเลือกคนที่ภาพลักษณ์เป็นหลัก สังกัด JYP จะเลือกจากมีภาพลักษณ์และความสามารถที่ใกล้เคียงกัน และสังกัด YG จะเลือกจากความสามารถมากกว่าภาพลักษณ์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อทางสังกัดเพลงได้มีการพิจารณาบุคคลจากการออดิชั่นแล้วก็จะนำไปสู่ โปรแกรมในการฝึกเพื่อเป็นไอดอล ซึ่งเรียกว่า การเข้าสู่สภาวะของการเป็นเด็กฝึกหัด (Trainee) นั่นเอง

.

โดยการเป็นเด็กฝึกหัดนั้นจะต้องมีการเซ็นสัญญาและเข้าสังกัดกับค่ายเพลงในประเทศเกาหลีใต้ เพื่อเข้าสู่เส้นทางในการเป็นไอดอล ซึ่งแต่ละค่ายเพลงจะมีการฝึกฝนและการพัฒนาเด็กฝึกหัดที่แตกต่างกันไป

.

โดยในการฝึกฝนหรือการเทรนด์นั้นจะมีการดำเนินการฝึกพื้นฐานอย่างน้อยทั้งหมด 4 ด้าน คือ ในด้านแรก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการสร้างคาแรคเตอร์ของการเป็น ไอดอล ในด้านนี้ส่วนใหญ่แต่ละสังกัดจะสอนเรื่องของการวางตัว การปฏิบัติที่เหล่าไอดอลพึงกระทำ รวมถึงลักษณะท่าทาง บุคลิกในการแสดงออกต่อสาธารณะ ว่าการเป็นไอดอลควรทำอย่างไร ด้านที่สอง ด้านการฝึกทักษะในด้านการร้อง การเต้น และการแสดง ในด้านนี้เป็นด้านที่ทุกสังกัดเพลงให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากการฝึกฝนที่เข้มงวดและหนักหน่วงของทางสังกัดที่ได้ดำเนินการแก่เด็กฝึกหัดนั้นจะเป็นการเค้นให้ตัวของเด็กฝึกหัดเกิดการพัฒนาและมีความสามารถเมื่อเป็นไอดอลในอนาคต

.

ดังนั้นทางค่ายเพลงจะมีการฝึกสอนและให้เด็กฝึกเรียนรู้ด้วยตนเองไปพร้อมๆกัน ด้านที่สาม ด้านการส่งเสริมความสามารถพิเศษที่นอกเหนือจากการร้อง การเต้น และการแสดง พบว่า ในหลายสังกัดมักจะมีการสนับสนุนให้เด็กฝึกหัดได้พัฒนาความสามารถพิเศษของตัวเองนอกเหนือจากงานหลักซึ่งก็คือการร้องเพลงและการเต้น ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางดนตรี ทักษะทางด้านภาษา ทักษะทางการแต่งเพลง ออกแบบท่าเต้น หรือการเป็นผู้นำทางแฟชั่นและด้านที่สี่ ด้านความรู้เรื่อง สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่ทางต้นสังกัดต้องให้ความตระหนักต่อเด็กฝึกทุกคนในการเรียนรู้วิถีปฏิบัติของประเทศเกาหลีใต้

.

ซึ่งในเพจของ Hallyu K Starได้อธิบายว่าความรู้ในด้านดังกล่าวเป็นเรื่องราวในหมวดที่ส่งผลอย่างมากต่อสาธารณะ รวมถึงการโปรโมทในต่างประเทศที่มีวัฒนธรรมต่างกัน โดย ได้มีการเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัย เพื่อมาให้ความรู้ในด้านนี้กับเหล่าไอดอลและเด็กฝึกหัด ที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นทางประวัติศาสตร์ และความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรม

.

จากการฝึกฝนที่เข้มงวดและการเทรนด์อย่างหนักของเด็กฝึกหัดในเบื้องต้น แต่ละบริษัทก็จะมีการประเมินผล ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นกระบวนการที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานหรือการฝึกฝนของเด็กเพื่อเปลี่ยนสถานะจากเด็กฝึกหัดไปสู่การเป็นไอดอล โดยในการวัดผลประเมินตามเป้าหมายนั้นจะมีรูปแบบการประเมินอยู่ทั้งหมด 2 รูปแบบ โดยในรูปแบบแรกจะเป็นการประเมินภายใน ซึ่งจะเป็นการวัดผลจากคนในสังกัดซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย ประธานค่าย โปรดิวเซอร์ ครูผู้สอนในด้านต่างๆ ศิลปินในค่าย ฯลฯ เป็นผู้ประเมิน และ รูปแบบที่สองจะเป็นการประเมินภายนอก ซึ่งจะใช้การประเมินร่วมกับบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่บุคคลในสังกัดเช่น มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆเข้ามาให้คำปรึกษาหรืออาจจะเป็นการประเมินผลข้ามสังกัดเช่นที่ ค่าย JYP กับค่าย YG เคยทำร่วมกัน

.

ดังนั้นจะพบว่า เมื่อเด็กฝึกหัดมีผลการประเมินที่เป็นที่น่าพึงพอใจในการสร้างความเชื่อมั่นต่อศักยภาพและความสามารถแก่ทางต้นสังกัดแล้วนั้น เด็กฝึกหัดที่มีความพร้อมก็จะได้รับคัดเลือกและถูกนำไปสู่การเป็นไอดอลหรือศิลปินขึ้นมาในที่สุด

.

ภายใต้การฝึกฝนที่เข้มข้นผ่านกระบวนการจัดการในการพัฒนาเด็กฝึกหัดของแต่ละสังกัดเพลงในประเทศเกาหลีใต้เพื่อค้นหาศิลปินไอดอล ทำให้เห็นว่า การที่จะเป็นไอดอลได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ซึ่งยากไปกว่าการเดบิวท์ให้เป็นศิลปินได้นั้น คือการทำให้ศิลปินไอดอลได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก

.

โดยในปัจจุบันเราจะพบเห็น กลุ่มศิลปินไอดอลที่มากมายแต่มีเพียงไม่กี่วงเท่านั้นที่จะถูกกล่าวถึงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและได้รับความนิยม และแม้ว่าเด็กฝึกหัดเหล่านี้จะเปลี่ยนสถานะมาสู่การเป็นศิลปินไอดอลแล้ว พวกเขาก็ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเอง พวกเขาจะต้องมีการฝึกฝนในทักษะที่พวกเขายังไม่มีเพิ่มเติม เช่น การฝึกแต่งทำนอง การฝึกแต่งเนื้อเพลง การฝึกออกแบบท่าเต้น เป็นต้น

.

ภายใต้การฝึกฝนที่เข้มข้นผ่านกระบวนการจัดการในการพัฒนาเด็กฝึกหัดของแต่ละสังกัดเพลงในประเทศเกาหลีใต้เพื่อค้นหาศิลปินไอดอล ทำให้เห็นว่า การที่จะเป็นไอดอลได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ซึ่งยากไปกว่าการเดบิวท์ให้เป็นศิลปินได้นั้น คือการทำให้ศิลปินไอดอลได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากแม้พวกเขาจะผ่านการฝึกฝนที่หนักหน่วงมาแล้ว

.

โดยในปัจจุบันเราจะพบเห็น กลุ่มศิลปินไอดอลที่มากมายแต่มีเพียงไม่กี่วงเท่านั้นที่จะถูกกล่าวถึงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและได้รับความนิยม แม้ว่าเด็กฝึกหัดเหล่านี้จะเปลี่ยนสถานะมาสู่การเป็นศิลปินไอดอลแล้ว พวกเขาก็ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเอง พวกเขาจะต้องมีการฝึกฝนในทักษะที่พวกเขายังไม่มีเพิ่มเติม เช่น การฝึกแต่งทำนอง การฝึกแต่งเนื้อเพลง การฝึกออกแบบท่าเต้น เป็นต้น แต่อย่างน้อยหากมองในเชิงผลลัพธ์จะเห็นว่า การที่เด็กฝึกหัดได้หลายมาเป็นไอดอลมันก็เป็นเหมือนบันไดที่จะทำให้กลุ่มคนหรือบุคคลเหล่านั้นได้ทำตามความฝันเเละมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตได้ทั้งระดับประเทศเเละทั่วโลกได้ ซึ่งมันก็ถือเป็นความท้าทายเเละความคุ้มค่าของชีวิตของพวกเขาที่น่าเสี่ยง

.

ภานุวัฒน์ กุยแก้ว (สุดเขตต์) เขียน

นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชิษณุพงศ์ นิธิวนา เรียบเรียง

.

อ้างอิง:

– การุณย์ ประทุมและศุภพงษ์ ปิ่นเวหา. (2558).การพัฒนาและการตรวจอบแบบตรงของการวัดการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในองค์การธุรกิจทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การวิเคราะห์ พหุระดับ. จุฬาลงกรณ์ปริทัศน์.ปีที่ 37 ฉบับที่ 146 ตุลาคม-ธันวาคม 2558. (1-21)
https://www.bbc.com/thai/international-5 1647252

.

Follow ข่าวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/

Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub

#YoungPrideClub