
อังสนาหย่าผัว ตีแผ่ศักดิ์และศรีของผู้หญิงที่ไม่ยอมเป็นทาสของผู้ชายมักง่ายอีกต่อไป
.
เมื่อผู้หญิงคนหนึ่งลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ในยุคที่ผู้หญิงยอมขายทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด แต่อังสนาก็เลือกที่จะทวนกระแสสังคม เพื่อแสดงถึงจุดยืนว่าผู้หญิงอย่างเธอก็มีคุณค่าเกินกว่าที่จะให้ผู้ชายมองเธอเป็นเพียงวัตถุทางเพศเท่านั้น
.
‘อังสนาหย่าผัว’ เป็นวรรณกรรมที่เขียนโดย รพีพร สะท้อนปัญหาสังคมในยุคที่เสรีเปิดกว้างให้กับผู้ชายทำผิดในเรื่องเพศซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรื่องราวของอังสนา หญิงพูดติดอ่างที่แต่งงานกับเทวัญ ทนายเจ้าเสน่ห์ และอยู่กินฉันท์สามีภรรยามามากกว่า 10 ปี ชีวิตคู่ผ่านเหตุการณ์ลุ่ม ๆ ดอน ๆ มาหลายครั้ง จนกระทั่งอังสนาจับได้ว่าสามีนอกใจหลายครั้งหลายหน เธอจึงไม่ทน พร้อมประกาศหย่าขาดจากสามีให้รู้แล้วรู้รอด
.
ถึงตรงนี้บางคนอาจตั้งข้อสงสัยว่าแปลกตรงไหนที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะขอหย่ากับสามี แต่เชื่อไหมคะว่ายังมีผู้หญิงอีกหลายคน ยอมกล้ำกลืนฝืนทนประคับประคองชีวิตคู่เพื่อให้ถึงฝั่ง อังสนามีลูกชายหนึ่งคน เธอไม่อยากให้ลูกเห็นตัวอย่างที่ไม่ดีจากพ่อ จึงพยายามแยกตัวออกจากสามีมาอยู่กับลูก ซึ่งตลอดเวลาที่สามีเทียวไปเทียวมาเพื่อพบหน้าลูก เธอก็มั่นใจว่าผู้หญิงอย่างเธอมีอาวุธที่สามารถต่อสู้กับเมียน้อย เพราะเธอมีความฉลาดและทัศนคติที่ผู้หญิงด้วยกันต้องยกนิ้วให้
.
เนื้อหาในนิยายเล่มนี้มีความเป็นเฟมินิสต์ คล้าย ๆ กับทฤษฎีของเฟมินิสต์ในช่วงยุค 60 – 70 ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องการกดขี่ทางเพศ มีทั้งการเปิดเผยและเคลือบแฝงเรื่องการกดข่มผู้หญิงในสังคม ซึ่งมีหลักฐานปรากฏทั้งในแถบยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ที่ผู้หญิงโดนลิดรอนสิทธิทางกฎหมาย และไม่มีปัจจัยสนับสนุนเท่ากับผู้เป็นพ่อหรือสามี ซึ่งกลายเป็นกรอบประเพณีที่ปฏิบัติสืบกันมาจนถึงช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งบางประเทศในเอเชียก็ยังมีกรณีเช่นนี้ถึงปัจจุบัน
.
ผู้หญิงที่นอกใจสามีมักจะถูกสังคมลงโทษรุนแรงมากกว่าผู้ชาย ทั้ง ๆ ที่ผู้ชายบางคนก็ได้ข่มเหงทั้งร่างกายและจิตใจ แสดงให้เห็นถึงอำนาจของผู้ชายที่อยู่เหนือกว่าผู้หญิง เช่นเดียวกันลัทธิมาร์กซิสต์ (Engels) ที่มองว่าผู้หญิงคือทาสรับใช้ โดย Engels อธิบายว่าการกดขี่ทางเพศมีต้นกำเนิดมาจากครอบครัวและรัฐ Lewis Morgan นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันเคยเขียนหนังสือชื่อว่า “the world historical defeat of the female sex” ที่กล่าวไว้ในความหนึ่งว่าผู้หญิงขวาจัดมักถูกโค่นล้มจากการสืบทอดอำนาจของผู้ชาย แนวคิดนี้จึงเป็นลักษณะของการกดขี่ผู้หญิง
.
อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าหนังสือ อังสนาหย่าผัว อาจจะกลายเป็นกุญแจที่ช่วยปลดล็อกความเสมอภาคให้เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน ได้จริงหรือไม่ ต้องอย่าลืมไปหาหนังสือมาอ่านกัน
โดย Nomy Wich Viva
.
อ่านเพิ่มเติม: https://youngprideclub.com/2020/07/21/women-rights/
.
อ้างอิง: https://www.thoughtco.com/oppression-womens-history-definit…
Follow ข่าวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub