
จากการเลื่อนเปิดเทอมเนื่องจากไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้นักเรียนต้องชมถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งไม่ค่อยได้รับผลตอบรับดีซักเท่าไหร่ คุณครูสอนภาชาภาษาอังกฤษ ชั้นป.6 ท่านหนึ่งได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากสื่อสารภาษาอังกฤษ สำเนียงและการออกเสียงที่ผิดเพี้ยนไป จนกลายเป็นดราม่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
.
ว่าครูต้องปรับปรุงความรู้ให้ถูกก่อนจะมาสอนเด็ก หรือสำเนียงไม่ได้ไม่เป็นไร เพียงแค่ต้องปรับการออกเสียงให้สื่อสารอย่างถูกต้องก็พอ ยิ่งไปกว่านั้นในกระบวนสร้างวิดีโอพร้อมซับไตเติ้ลตามการออกเสียงของคุณครูถือเป็นการล้อเลียนหรือไม่
.
จากการแสดงความคิดเห็นของอาจารย์อดัม แบรดชอว์ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษชื่อดังแสดงให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษว่า คนไทยส่วนใหญ่กลัวภาษาอังกฤษไม่ใช่เพราะกลัวฝรั่ง แต่กลัวคนไทยด้วยกันล้อเลียนมากกว่า
.
บทวิเคราะห์เกี่ยวกับการสื่อสาร โดย Penny Ur อธิบายถึงสาเหตุของข้อผิดพลาดในการออกเสียงภาษาอังกฤษว่าแบ่ง ออกเป็น 3 ประเด็นคือ
1. เสียงบางเสียงในภาษาอังกฤษไม่มีอยู่ในภาษาแม่ ทำให้ผู้เรียนไม่คุ้นเคยกับการออกเสียง เหล่านั้น จึงแทนที่เสียงเหล่านั้นโดยเสียงที่ใกล้เคียง
2. เสียงบางเสียงเป็นเสียงที่มีอยู่ในภาษาแม่ แต่ไม่ได้ถือเป็นหน่วยเสียงที่แยกออกมาอย่าง ชัดเจน จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้เสียงดังกล่าวว่าสามารถทำให้เกิดความแตกต่าง ทางความหมายได้
3. บางครั้งผู้เรียนออกเสียงถูกต้อง แต่ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้ถึงการลงเสียงหนัก (stress) ใน ระดับคำ หรือบางครั้งผู้เรียนใช้ทำนองเสียง (intonation) ของภาษาแม่มาใช้ใน ภาษาอังกฤษ จึงส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อความหมายได้
.
ตามแนวคิดที่กล่าวมา การออกเสียงภาษาอังกฤษที่ผิดพลาดอาจจะมีที่มาจากภาษาแม่ของแต่ละคน แต่ประเทศไทยนั้นไม่ได้มีเพียงภาษาแม่ที่เป็นภาษาไทยกลางอย่างเดียวเท่านั้น คนไทยหลายคนมีภูมิลำเนาและครอบครัวที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นคนไทยในภาคอีสาน คนเหนือ คนไทยเชื้อสายจีน คนไทยเชื้อสายอเมริกัน รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่ได้สัญชาติเป็นคนไทยในเวลาต่อมา
.
ในอดีตการออกเสียงภาษาไทยเอง ยังมีการสร้างความแตกต่างหรือสร้างภาพจำ ผ่านสื่อ โทรทัศน์ ละคร หนัง ต่อคนที่ออกเสียงภาษาไทยในสำเนียงที่ไม่ใช่ไทยแท้ เช่น คนสำเนียงอีสานมักจะได้รับบทเป็นแรงงาน ถูกดูถูกจากคนที่รวยว่าบ้านนอก คนเหนือถูกล้อเลียนว่า อู้ไทยบะแล๊ดเมือง หรือ สาบเมือง รวมถึงการล้อเลียนคนไทยเชื้อจีนและแรงงานข้ามชาติว่า “พูดม่ายซัก”
.
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ดราม่าดังกล่าวพบ ความเห็นไม่น้อยต่อว่าสำเนียงคุณครูท่านนี้ว่าเป็นภาษาอังกฤษสำเนียงอีสาน บ้างก็ว่าเป็นสำเนียงเมียเช่า จนเกิดเป็นคำถามว่าถ้าครูออกเสียงภาษาอังกฤษสำเนียงไทยแท้ จะเกิดเป็นประเด็นมากถึงขนาดนี้ไหม
.
แม้ไม่สามารถสรุปที่ได้ว่าคุณครูผิดหรือ ครูทำดีที่สุดแล้ว และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เพราะในความจริงคุณครูบางท่านอาจจะมีความสามารถในการสอนทักษะด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นเขียน แกรมม่า การฟัง การอ่าน ที่ดีกว่า การพูด
.
แต่สุดท้ายผู้เขียนอยากชวนตั้งคำถามว่า การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นให้ตัวผู้เขียนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมต่างชาติเพื่อโอบรับความหลากหลายที่มีอยู่ภายนอกประเทศ แต่เราลืมไปหรือเปล่าที่จะศึกษาเพื่อเรียนรู้ความหลากหลายในประเทศของเราเอง
.
Cynthia เขียน
ชิษณุพงศ์ นิธิวนา เรียบเรียง
.
อ้างอิง:
– https://dspace.bru.ac.th/…/12345…/1001/09บทที่__2_Gae-V2.pdf\
– https://m.mgronline.com/live/detail/9590000054802
โดย Superfon
.
Follow ข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub #YoungPrideClub