รับมือกับโคโรน่าด้วยการบั่นหัวดอกไม้ บทลงโทษทางสังคมในสไตล์ญี่ปุ่น

by | May 19, 2020 | Society, Talk | 0 comments

รับมือกับโคโรน่าด้วยการบั่นหัวดอกไม้ บทลงโทษทางสังคมในสไตล์ญี่ปุ่น
.
เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พนักงานของสวนโยโนะซึ่งเป็นสวนที่อยู่ในจังหวัดไซตามะ ได้ทำการตัดดอกกุหลาบนับ 3,000ดอกทิ้ง และทางสวนก็ได้ยกเลิกงานแสดงกุหลาบประจำปีซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมเป็นที่เรียบร้อย และสวนในเมืองซากุระ จังหวัดชิบะ ก็ได้ตัดดอกทิวลิปทิ้งกว่า 100,000 ดอก ด้วยเหตุผลเดียวกันคือต้องการไม่ให้ผู้คนจำนวนมากเข้ามาชมความงามของดอกไม้ในสวนอันจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากความแออัด ผู้ที่เคยมาชมดอกไม้ในสวนเหล่านี้ในปีที่ผ่านมาได้ให้ความคิดเห็นว่าเป็นภาพที่เจ็บปวดยิ่งที่เห็นสิ่งสวยงามถูกทำลาย
.

ในมุมมองของคนไทยอาจจะมองว่า ดอกไม้มันผิดอะไรทำไมต้องไปตัดมัน ทำไมไม่หาทางเลือกอื่น?
.
ก่อนอื่นต้องท้าวความหลังให้ฟังว่า ในวันที่ 7 เมษายน นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงโตเกียวและอีก 6 จังหวัด ก่อนที่จะขยายเป็นทั่วประเทศในเวลาต่อมา โดยขยายเวลาถึงวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือสถานการณ์ล็อคดาวน์ในญี่ปุ่นต่างจากประเทศอื่นตรงที่ว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถใช้มาตรการทางกฏหมายในการควบคุมไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านได้อย่างเด็ดขาด โดยรัฐบาลไม่มีสิทธิ์ลงโทษประชาชน ทำได้เพียงแค่ขอความร่วมมือเท่านั้น ทั้งนี้นักกฏหมายในญี่ปุ่นได้กล่าวกับนักข่าว Reuters ว่า สาเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะว่าในอดีตสมัยยุคก่อนสงครามโลก รัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิ์ดังกล่าวแก่รัฐบาลและมีผู้ที่นำอำนาจไปใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นรัฐธรรมนูญในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญอย่างมากกับสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน
.
ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่สามารถบังคับคนญี่ปุ่นไม่ให้ออกไปชุมนุมดูดอกไม้ได้ด้วยบทลงโทษเช่นการเสียค่าปรับ จึงเอาดอกไม้ออกเสียเลย ในเมื่อดอกไม้เป็นสิ่งที่คนต้องการ ก็เอาสิ่งที่ต้องการออก จะได้หมดปัญหา อุปมาราวกับว่า ต้องกระชากขนมออกจากมือเด็กเพื่อกันไม่ให้เด็กฟันผุยังไงยังงั้นเลย
.
การลงโทษของญี่ปุ่นหลายครั้งเป็นไปแบบอ้อมๆ ถึงแม้ว่าจะไม่มีบทลงโทษทางกฏหมาย แต่โชคดีอย่างที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมกลุ่มและแคร์สายตารอบข้างที่รุมประณามเวลามีคนทำผิด\ในภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า จิฉุขุ (Jishuku) ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Self-restraint หรือการหักห้ามตนเองไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งถ้าคนในสังคมไม่มีความสามารถในการห้ามใจไม่ให้ทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแล้ว สังคมนั้นย่อมวุ่นวาย ตอนนี้มีอีกเคสหนึ่งที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญต่อไปคือ ร้านปาจิงโกะบางแห่งไม่ยอมปิดทำการตามคำขอร้อง ซึ่งทางการกำลังเข้าเจรจา และถ้ายังไม่ยอมให้ความร่วมมืออีก สิ่งที่ทางการสามารถทำได้คือ การเปิดเผยชื่อร้านปาจิงโกะดังกล่าวเพื่อประณาม เท่านั้น
.
น่าชวนคิดว่าถ้านำแนวคิดและมาตรการแบบนี้มาใช้ในไทย ฟีดแบ็คที่ได้จากประชาชนจะเป็นยังไง? หรืออาจไม่ได้ผล?
.
โดย คอลัมน์นิจ
.
อ่านเพิ่มเติม:
.
อ้างอิง:

.

Follow ข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub #YoungPrideClub #สังคมญี่ปุ่น