สังคมยอมรับ LGBT มากขึ้น ความกดดันลดลง แต่ภายในกลุ่มกลับเหยียดกันเอง ทั้งฐานะ ชนชั้น หน้าตา และการออกสาว?

by | May 17, 2020 | Society, Talk | 0 comments

สังคมยอมรับ LGBT มากขึ้น ความกดดันลดลง
แต่ภายในกลุ่มกลับเหยียดกันเอง ทั้งฐานะ ชนชั้น หน้าตา และการออกสาว?
.
ตั้งแต่ 1990 การสำรวจสังคมชาวสีรุ้งพบว่า การเหยียดจากสังคมภายนอกเป็นปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อสุขภาพทางจิตของคนในกลุ่ม แต่ปัจจุบันการยอมรับในสังคมเริ่มมีมากขึ้นแล้ว ทำให้นักวิจัยด้านสุขภาพจิตหันมาสนใจศึกษาในด้านของความเครียดและสุขภาพจิตภายในกลุ่มแทน
.
ผศ.ดร.John Pachankis ผู้เริเริ่มโครงการวิจัยด้านสุขภาวะทางจิตภายในกลุ่ม LGBTQ+ มหาวิทยาลัย Yale University สหรัฐอเมริกา ได้รายงานในงานวิจัยว่าความเครียดของ เกย์ และ ไบเซ็กชวลส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเหล่าเพื่อนพ้องของพวกเขาภายในกลุ่มนั่นเอง ซึ่งเรียกว่า ความเครียดภายในชนกลุ่มน้อย (Intra-minority stress)
.
นอกจากนั้นการปฏิบัติต่อกันภายในกลุ่มนั้นค่อนข้างที่จะรุนแรงเนื่องจากรู้สึกเครียดและหมกมุ่นกับภาพลักษณ์ สถานะและเซ็กส์ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการเหยียดชนชั้นและการข่มเหงทางสังคม
.
ด.ร. John เสริมว่า “การแข่งขันกันในสังคมผู้ชายนั้นเป็นการแข่งขันที่เคร่งเครียดเป็นปกติอยู่แล้ว แต่เมื่อการแข่งขันนี้เกิดขึ้นในสังคมผู้ชายที่มีความสัมพันธ์ต่อกันทั้งทางสังคมและทางเพศยิ่งทำให้สุขภาพทางจิตของคนในสังคมนี้เครียดมากกว่าเดิม”
.
ความเครียดจากคสังคม LGBTQ+ นั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 กลุ่ม

  1. ความเครียดเกี่ยวกับเซ็กส์ระหว่างกลุ่มเพื่อน
  2. ความเครียดด้านสถานะ เช่น ความเป็นผู้ชาย เสน่ห์ และฐานะทางการเงิน
  3. ความเครียดจากการแข่งขันที่มากเกินไประหว่างวัฒนธรรมที่หลากหลาย
  4. ความเครียดจากการเหยียดชนชั้น เช่น การเหยียดเชื้อชาติและอายุ และการเหยียดเกย์ที่มีเชื้อ HIV
    .
    สังคมเกย์ และ ไบเซ็กชวล นั้นก่อร่างสร้างอัตลักษณ์จนกลายมาเป็นมาตราฐานด้านเสน่ห์ ความสำเร็จ และความเป็นชาย มาตัดสินคนในกลุ่มด้วยกัน หรือแม้แต่คู่รักของตัวเองด้วย ซึ่งนี่ทำให้เกิดความเจ็บปวดทางใจอย่างมาก
    .
    สิ่งที่เราควรเรียนรู้คือ การก้าวข้ามคำว่า ชนชั้น และสิ่งที่สังคมทั้งภายในและภายนอกคาดหวัง ว่าเราจะต้องเป็นเพศแบบนี้ตามแบบแผน แต่เราควรจะมีอิสระในการเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ไปตัดสินผู้อื่น
    .
    แม้งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่เรามักเห็นในสังคมไทยนั้น มันก็อาจจะมีความเหมือนและต่างกันในบางประกาศ เพราะสังคมชาวสีรุ้งไทยนั้น ไม่ได้มองแค่เพียงความเป็นเพศ แต่มีการแบ่งกันเองในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ฐานะ ชนชั้น การเงิน หรือแม้แต่ความแมน ความสาว
    .
    ซึ่งอาจจะเทียบกับวลีดังในโลกโซเชี่บลที่ว่า “ฟิล์มมีบ้าน ฟิล์มมีรถ ดังนั้นจะมาเป็นกะเทยเหมือนกันไม่ได้” ก็แสดงให้เห็นว่าแม้จะเป็นคนในสังคมย่อยเหมือนกัน แต่สถานะทางสังคมก็สามารถแบ่งความเหมือนต่างของคนภายในกลุ่มได้
    .
    เขียน NAVEEN KUMAR
    เรียบเรียง ชิษณุพงศ์ นิธิวนา
    .
    อ้างอิง
    https://www.them.us/story/gay-bi-racism-looks-grindr-anxiety-depression
    Follow ข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
    Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub

YoungPrideClub #LGBTsociety #LGBTsMentalHealth