สิทธิและการคุ้มครองที่หายไป หลังจากฉันแปลงเพศ: บทเรียนจากสาวข้ามเพศกับสวัสดิการรัฐ

by | May 16, 2020 | Society, Talk | 0 comments

สิทธิและการคุ้มครองที่หายไป หลังจากฉันแปลงเพศ:
บทเรียนจากสาวข้ามเพศกับสวัสดิการรัฐ

อ่านฉบับเต็มในเว็บไซด์: https://youngprideclub.com/2020/05/16/trans-idahobit-2020/

หนึ่งปัญหาที่กลุ่มคนข้ามเพศต้องเผชิญ ปัญหาหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือขาดการรับรองจากทางภาครัฐที่ยังไม่คุ้มครองการเปลี่ยนเพศให้เป็นสวัสดิการรัฐของกลุ่มคนข้ามเพศ การผ่าตัดแปลงเพศยังไม่ขึ้นตามระบบประกันตนใดๆ และยังไม่ได้ถูกยกระดับให้เป็นการรองรับในระดับชาติ ส่งผลให้เมื่อเวลากลุ่มคนข้ามเพศต้องการอยากจะผ่าตัดแปลงเพศ ต้องเข้ารับบริการยังโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งของทางเอกชนเป็ส่วนใหญ่ พร้อมดังค่าใช้จ่ายที่สูง

ยิ่งไปกว่านั้น ในส่วนของภาคเอกชน จากการสำรวจข้อมูลพบว่า การคุ้มครองประกันสุขภาพนั้น บริษัทประกัน”บางแห่ง”ยังไม่คุ้มครองการรักษาพยาบาลจากการผ่าตัดแปลงเพศ เนื่องด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัดแปลงเพศเป็นการเสริมความงามโดยสมัครใจ หรือการตีความว่าการผ่าตัดแปลงเพศทำให้อวัยวะไม่ครบ 32 ซึ่งเป็นเพียงการตีความผ่านความเชื่อของบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่การตีความผ่านรับรองข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด

จากการสัมภาษณ์สอบถามข้อมูลจากบุคคลข้ามเพศหลายๆท่านที่ผ่าตัดแปลงเพศเรียบร้อยแล้ว พบว่า พวกเขาต้องอดทนต่อการออมเป็นอย่างมาก เพราะไม่ได้มีฐานะทางการเงินที่ร่ำรวย เป็นคนชนชั้นกลางที่ต้องเพิ่มวินัยในการออมเงินของตนเอง บางคนถึงขั้นยอมอดมื้อกินมื้อ หรือตัดใจจากการจับจ่ายสินค้าที่ถูกใจลงอย่างมาก

ถ้าหากเราอยากมีอวัยวะทุกอย่างที่สอดคล้องกับตัวตนของเราเอง มันจึงไม่เสียหายเลยที่บุคคลข้ามเพศควรจะได้รับคือการคุ้มครองการผ่าตัดแปลงเพศให้เป็นสิทธิในการรักษาพยาบาล เนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้น การถูกรองรับสิทธิ์ให้เข้าถึงระบบสวัสดิการ การผ่าตัดแปลงเพศอวัยวะเพศให้ตรงกับเพศสภาพของเรา สามารถช่วยให้ยับยั้งการตีตราว่าบุคคลข้ามเพศคือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศหรือภาวะความไม่พอใจในเพศของตัวเอง (gender dysphoria หรือ gender identity disorder: GID)

เพราะสิทธิของบุคคลข้ามเพศเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง จริงอยู่ที่บุคคลข้ามเพศหลายคนไม่ได้มีความต้องการอยากที่ผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศ แต่อยากไรก็ตาม จากบทความนี้จึงนำไปข้อสรุปที่จะส่งผลให้นำไปสู่การตั้งคำถามกับสังคมที่ว่า บุคคลข้ามเพศควรจะได้รับสิทธิในตัวตน อธิปไตยทางร่างกาย อย่างที่พวกเขาและเธอควรจะเป็นมิใช่หรือ?

และเนื่องด้วยวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ใกล้จะมาถึง วันดังกล่าวเป็นวันสากลที่สำคัญต่อพวกเราชาวสีรุ้งและทุกคน เพราะคือวันวันสากลยุติการเกลียดกลัว คนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ คนรักสองเพศ หรือ International Day Against Homophobia, Biphobia, Intersexism and Transphobia หรือ IDAHOBIT (ไอ-ดา-ฮอท)

ในปีนี้ IDAHOBIT 2020 มาในตีม “Breaking the Silence” พวกเรากลุ่ม Young Pride Club และภาคีเครือข่ายทุกองค์กร จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันติดแฮชแท็ก

IDAHOฺBITThailand2020 #Breakingthesilence #NoSilence #เราไม่เงียบ

เพื่อสร้างพลังให้เพื่อนๆชาวสีรุ้งทุกคนออกมายืนหยัด ส่งเสียงเพื่อเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเราอย่างที่ควรจะเป็น

เขียน Lily
เรียบเรียง ชิษณุพงศ์ นิธิวนา
ขอบคุณภาพข้อมูลจากสาวข้ามเพศท่านหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลการสัมภาษณ์จาก พี่โน็ต เจษฎา แต้สมบัติ
ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน: Thai TGA
อ้างอิง: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1314:2017-02-26-09-26-31&catid=45:topic-review&Itemid=561

Follow ข่าวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook & Instagram & Twitter: @YoungPrideClub

YoungPrideClub