ผู้ชายญี่ปุ่น สิทธิลาคลอด และการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์

by | Apr 7, 2020 | Uncategorized | 0 comments

ผู้ชายญี่ปุ่น สิทธิลาคลอด และการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์
ชินจิโร่ โคอิซุมิ นักการเมืองชายญี่ปุ่น
ผู้ใช้สิทธิลาคลอดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
.
นักการเมืองญี่ปุ่น ชินจิโร่ โคอิซุมิ (Shinjiro Koizumi) ได้ตัดสินใจใช้สิทธิลาคลอด (paternity leave) เป็นเวลา 2 อาทิตย์เพื่อไปดูแลภรรยานักข่าวสาวที่ได้คลอดลูกชายในวันศุกร์ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่มีนักการเมืองผู้ชายญี่ปุ่นได้ขอใช้สิทธิลาคลอด
.
นอกจากการดำรงตำแหน่งในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมที่อายุน้อยที่สุดแล้ว  ชินจิโร่ โคอิซุมิ ยังเป็นลูกชายของ จุนอิจิโร่ โคอิซุมิ (Junichiro Koizumi) นายกรัฐมนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของชาวญี่ปุ่น โดยชินจิโร่ถือว่าเป็นนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์แบบสมัยใหม่มาก
.
แม้ว่าการลาคลอด 2 อาทิตย์จะดูเหมือนระยะเวลาที่สั้น แต่ก็ได้สร้างเสียงฮือฮาอย่างมากในญี่ปุ่น โดยมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนในการตัดสินใจของชินจิโร่ กับฝ่ายที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ในการดูแลประเทศ
.
ในความเป็นจริงญี่ปุ่นเป็น 1 ในประเทศที่มีการให้สิทธิลาคลอดที่ดีที่สุด โดยให้สิทธิการลาคลอดถึง 1 ปีซึ้งแม้จะไม่ได้รับรายได้จากที่ทำงานแต่ยังคงได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ชายญี่ปุ่นกลับมีการใช้สิทธิดังกล่าวเพียง 6.16%ในปี 2018
.
เหตุผลหลักของการใช้สิทธิลาคลอดที่ถือว่าต่ำอย่างมากของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่างสวีเดนทที่มีอัตราการใช้สิทธิลาคลอดถึง 90% นั้นมาจากจากค่านิยมของการที่ผู้ชายมีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวของญี่ปุ่น  โดยความเชื่อนี้ได้ก่อให้เกิดแรงกดดันจากที่ทำงานและเพื่อนร่วมงานอย่างมาก
.
ในปี 2018 นาย Glenn Wood ชาวแคนาดาได้ยื่นคดีฟ้องร้องบริษัทการเงินญี่ปุ่นในข้อหาที่ไล่เขาออกหลังจากเขาได้ยื่นเรื่องลาคลอดเป็นเวลา 5 เดือน โดยหลังจากที่เขาได้กลับมาทำงาน เขาก็ได้รับการล่วงละเมิดและกลั่นแกล้งจากเพื่อนร่วมงานมาตลอด
.
ในอดีตเคยมีนักการเมืองผู้หญิงที่ได้ลาคลอดในระหว่างการทำงาน อย่าง ทากาโกะ ซูซูกิ(Takako Suzuki) ในปี 2017 ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการวางตัวที่ไม่เหมาะสมและถือว่าทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไร้ความรับผิดชอบ ซึ่งสร้างการเปรียบเทียบอย่างมากกับการใช้สิทธิลาคลอดของชินจิโร่ในครั้งนี้
.
การตัดสินใจของชินจิโร่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างค่านิยมใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ชายญี่ปุ่นใช้สิทธิลาคลอดให้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นทางอ้อมให้ครอบครัวญี่ปุ่นรู้สึกอยากจะมีลูกมากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาอัตราการมีลูกที่ต่ำมากในปัจจุบัน
.
แม้จะเป็นการเริ่มต้นที่เล็ก แต่ก็หวังว่าการตัดสินใจของนักการเมืองหนุ่มผู้เป็นขวัญใจคนนี้จะทำให้เกิดการใช้สิทธิลาคลอดที่มากขึ้นของฝ่ายชายในญี่ปุ่นเพื่อให้พ่อสามารถช่วยเหลือคุณแม่ในการเลี้ยงดูครอบครัวอย่างเต็มที่ต่อไปในอนาคต
.
เขียน: 1000ไมล์
.
 อ้างอิง:
https://www.nytimes.com/2020/01/15/world/asia/japan-koizumi-paternity-leave.html?smid=fb-nytimes&smtyp=cur&fbclid=IwAR3juIiBKHu_RUCRS6O3oV4YlVz2DVi8Y7cUJ5f-fhiwG8AFD11-P18I2qY
https://www.theguardian.com/world/2020/jan/17/japanese-paternity-leave-shinjiro-koizumi
https://edition.cnn.com/2020/01/16/asia/japan-koizumi-paternity-leave-intl-hnk/index.html
•https://www.cnbc.com/2020/01/16/japanese-minister-shinjiro-koizumis-paternity-leave-divides-public.html
.
Follow ข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook: https://www.facebook.com/YoungPrideClub/
Instagram: https://www.instagram.com/youngprideclub/
Twitter: https://twitter.com/YoungPrideClub
#YoungPrideClub #Japan #PaternityLeave #Shinjiro Koizumi