“Feel Good” ซีรีย์หญิงรักหญิงที่ถ้าคุณดูอาจจะเข้าใจมุมมองของความสัมพันธ์มากขึ้น!
.
ช่วงนี้ถ้าคุณกำลังหาซีรี่ดูสักเรื่อง หรือไม่ร้จะดูเรื่องอะไรดี ลองดูซีรี่ย์ LGBT เรื่องนี้นะคะ
.
ความสัมพันธ์ของจอร์จ และเม คู่รักที่พบเจอกันในบาร์แห่งหนึ่ง เมเป็นนักพูดตลกเดี่ยวไมโครโฟน ส่วนจอร์จเป็นผู้ชมที่เหมือนจะหัวเราะมุกตลกของเมเพียงคนเดียว ต่อมาทั้งคู่จึงได้สานสัมพันธ์กัน
.
เมื่อเมได้ย้ายไปอยู่กับจอร์จ เรื่องเหมือนจะไม่ง่ายเพราะบางครั้งเรื่องของความสัมพันธ์แบบคนรักเพศเดียวกันอาจจะไม่ใช่เพียงคนสองคน มันรวมถึงมุมมองจากคนรอบตัวของจอร์จ ซึ่งเป็นกรอบของสังคมผู้ดีอังกฤษ ในเรื่องมีการพูดถึง และการตบมุขตลกในประเด็นเหยียดของคนรอบตัวทั้งสองฝ่าย ซึ่งอาจจะไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่เชื่อว่าใครหลายคนคงเคยพบเจอ หรืออาจจะเคยชินกับมันไปแล้ว
.
การเสพติดเป็นสิ่งหนึ่งที่มักถูกพูดถึงในเรื่อง ซึ่งการเสพติดมีให้เห็นหลาย ๆ แบบ ทั้งการติดยาเสพติดจริง ๆ หรือการเสพติดในความสัมพันธ์ ทั้งสองอย่างนี้มีจุดที่เหมือนกันอยู่ คือ อาการลงแดง ซึ่งคงไม่ต้องพูดถึงอาการลงแดงแบบยาเสพติดเพราะอาจเคยเห็นหรือนึกภาพออกกัน แต่อาการลงแดงในความสัมพันธ์นั้นตัวซีรีส์ก็เปรียบเทียบได้ค่อนข้างน่าสนใจ โดยมันเหมือนกับอาการติดคนรัก รู้สึกคิดถึงตอนไม่ได้อยู่ด้วยกัน จนบางทีอาจทำให้เกิดความพยายามครอบครองหรือคาดหวังอะไรจากอีกฝ่ายที่มากจนเกินไปจนลืมไปว่าอีกฝ่ายเองก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบไปในทุกเรื่อง
.
ซีรี่ย์เรื่องนี้มีหลายมุมค่ะ มุมน่ารักๆก็มีเยอะ อาจจะมีฉากติดเรทบ้างนิดหน่อย หากคุณอยากรู้หรือ ทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์แบบหญิงรักหญิงมากขึ้นละก็ลองเปิดซีรี่ย์เรื่องนี้ในเน็ตฟลิกซ์ดูนะคะ
.
โดย Muay Lek
.
อ้างอิง:
https://www.playinone.com/sakonpo…/feel-good-netflix-review/
Follow ข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://youngprideclub.com/
Facebook: https://www.facebook.com/YoungPrideClub/
Instagram: https://www.instagram.com/youngprideclub/
Twitter: https://twitter.com/YoungPrideClub
#YoungPrideClub