มุมมองความเข้าใจเรื่อง สิทธิมุสลีมะฮฺ (สตรีมุสลิม) The understood of human right of Muslimah

by | Jul 28, 2019 | Society | 0 comments

มุมมองความเข้าใจเรื่อง สิทธิมุสลีมะฮฺ (สตรีมุสลิม)
The understood of human right of Muslimah
.
Feminism จากพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด หมายถึง “ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี”
.
เรา…ในฐานะนักศึกษาสังคมสงเคราะห์ ผู้สนับสนุนสิทธิ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนในสังคม
เรา…ในฐานะมุสลีมะฮฺคนหนึ่ง ผู้ป็นตัวแปรหลักในหัวข้อข้างต้น จึงมีมุมมอง ทัศนคติ และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
และเรา…ในฐานะปัญญาชน ผู้ใช้แนวคิด ทฤษฎีเป็นฐานรองรับในการปฏิบัติตัวในสังคม และการแสดงออกทางความคิด
.
มุสลีมะฮฺ หรือ สตรีมุสลิม ในยุคปัจจุบันยังคงถูกครอบงำด้วยความเชื่อและความเข้าใจไปในทางที่ผิดเกี่ยวกับหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการถูกกดขี่และลดทอนคุณค่าของมุสลีมะฮฺ
.
ทั้งนี้ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งจากฝ่ายมุสลีมีน หรือ บุรุษมุสลิม และจากตัวมุสลีมะฮฺเอง รวมไปถึงความเข้าใจผิดๆของคนนอกเหนือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้มุสลีมะฮฺถูกมองและถูกนิยามความหมายของชีวิตว่า ต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทำ มิใช่ผู้กระทำ
.
คือ ไม่มีสิทธิตัดสินใจ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของมุสลีมีน มุสลีมะฮฺที่ดีควรเก็บตัว ทำงานบ้านงานเรือน การเป็นผู้รู้ การศึกษาเล่าเรียนเป็นหน้าที่ของมุสลีมีน และโดยเฉพาะการถูกมองจากบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่นอกเหนือผู้นับถืออิสลาม มักจะมองว่า การแต่งกายของมุสลีมะฮฺ โดยเฉพาะมุสลีมะฮฺแถบตะวันอกกลาง คือสิ่งบ่งบอกว่าถูกกดขี่อย่างรุนแรง
.
แต่มุมมองที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามนั้น มุสลีมะฮฺ คือไข่มุกอันทรงคุณค่า ที่ถูกห่อหุ้มอยู่ภายในกลีบกุหลาบ กล่าวคือ เธอคือความสวยงาม ที่ห่อหุ้มด้วยสิ่งที่สวยงามและแข็งแกร่ง ในทางศาสนาอิสลามนั้น สตรีเพศ คือสิ่งสวยงามและมีคุณค่า ควรได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ดูแลอย่างทะนุถนอมเป็นพิเศษ เธอมีสิทธิในการตัดสินใจ หากสิ่งนั้นไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนตัวเธอเองและคนรอบข้าง เธอจำต้องรู้จักเรียนรู้เพื่อพัฒนาและเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง
.
มุสลีมีนควรให้การดูแลด้วยหลักการและเหตุผลทางศาสนา มิใช่นำหลักศาสนามาใช้ในการควบคุม บังคับเธอ การสนับสนุนในการให้เธอออกไปเรียนรู้โลกกว้าง คือสิ่งที่มุสลีมีนควรกระทำต่อเธอ เพราะต่อให้เธอเข้มแข็งและแข็งแกร่งมากแค่ไหน แต่การได้รับการปฏิบัติที่ดีจากมุสลีมีน คือสิ่งที่เธอควรได้รับ
.
ทฤษฎีทางสังคมชีววิทยา (Sociobiological Theory) และสตรีนิยมสายเสรีนิยม Mary Wollstonecraft ได้กล่าวถึง ‘ความเท่าเทียมในสิทธิทางเพศ’ ประกอบไปด้วยความเสมอภาค (Equality) เสรีภาพ (Freedom) และภราดรภาพ (Fraternity) และสตรีนิยมสาย Marxist Feminism Virginia Woolf ก็ได้ให้ข้อเสนอว่าจะ”ล้มล้างลัทธิชายเป็นใหญ่ลง”
.
กล่าวคือ ทั้ง 3 องค์ประกอบความเท่าทียมทางเพศ สนับสนุนทฤษฎีข้างต้น และข้อเสนอของ Virginia Woolf ก็สนับสนุนให้เกิดขึ้นจริงขององค์ประกอบทั้ง 3 ข้างต้นเช่นกัน
.
บุรุษหรือสตรี ก็เท่าเทียมกันหมด หากจะมองในแง่ที่เท่ากัน ในขณะเดียวกัน บุรุษกับสตรี ตั้งแต่กำเนิดโลกจนโลกสลาย ก็ไม่มีวันไหนที่เท่ากันได้ เพราะเราต่างมีความพิเศษในบางด้านที่ถูกสร้างมาที่แตกต่างกัน เพราะเช่นนี้ โลกจึงกำเนิดมาทั้งบุรุษและสตรีขึ้นมา เพื่ออาศัย เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มิใช่มาเพื่อต่อสู้ในเรื่องการแย่งชิงอำนาจว่าใครจะดีกว่ากัน?
.
เช่นเดียวกันในยุคสมัยปัจจุบัน ความหลากหลายยิ่งมากขึ้น จะเพศไหน มันไม่สำคัญ และมันก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่จะมาต่อสู้กัน หากทุกคนเข้าใจในหลักการมนุษยธรรมแท้จริง…ซึ่งก็นั่นแหละ มันคือเรื่องยาก…หรือกำแพงเป็นเพียงแค่เรื่องความเห็นแก่ตัว?
.
(ผู้ถูกโลกลืม) เขียน
ชิษณุพงศ์ นิธิวนา เรียบเรียง
.
แหล่งข้อมูล:
วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). คตินิยมสิทธิสตรี. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. สืบค้นจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/
Prezi. (2557). แนวความคิดทางจิตวิทยากับการศึกษาเรื่องเพศ. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. สืบค้นจาก: https://prezi.com/lhfqzo9zhld2/presentation/
Gender in ASEAN. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับเพศสภาพ. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. สืบค้นจาก: http://gender-in-asean.blogspot.com/p/2_10.html