เหยียดผิว ในแอปหาคู่ LGBT
เมื่อ “เพศ” ไม่ใช่เรื่องเดียวที่ต้องยอมรับ…
การพูดว่า “ไม่เอาเอเชีย” “ไม่เอาคนดำ” “ไม่เอาแขก” คงเป็นคำพูดที่อาจจะไม่สุภาพนัก และอาจจะไม่มีคนกล้าพูดในที่สาธารณะ
แต่ทำไมคำพูดอย่าง “No Blacks” (ไม่เอาชาวผิวสี) “No Asians” “No rice” (ไม่เอาพวกกินข้าว เอเชีย) “No Curry” (ไม่เอาแขก อินเดียตะวันออกกลาง) กลายเป็นวลีที่ใครๆก็ใช้ในโปรไฟล์ ในแอปหาคู่ชาวสีรุ้ง?
ประเด็นเหยียดเชื้อชาติสีผิว ในแอปหาคู่ที่มีผู้ใช้ LGBT อย่าง Grindr และ Tinder กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องในกลุ่มชาวสีรุ้ง ว่ามันเหยียด หรือเป็นเพียงสิทธิของผู้ใช้งานการตั้งค่าความสนใจ
ในแอปหาคู่ ผู้ใช้สามารถเลือก ชอบ/ไลค์/ปัดขวา และไม่ชอบ/ปัดซ้าย ผู้ใช้อื่นได้
บ่อยครั้งการถาม อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง กลายเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งอาจจะรวมไปถึงเชื้อชาติ หรือเปล่า?
Nasir Alajmi ชายตะวันออกกลาง อายุ 24 ปี ผู้ใช้ Grindr กล่าว “ฉันเห็นการเลือกปฏิบัติตลอดเวลา ทำไม Grindr ต้องมีส่วนที่ระบุว่าคุณเป็นเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ใด อะไรคือสาเหตุของมัน?”
ชายเกย์เอเชีย กล่าวว่า พวกเขาเบื่อที่ถูกอคติ ว่าชายเอเชียต้องมีอวัยวะเพศชายเล็ก และเนื่องจากอคตินั้น นำไปสู่การเลือกปฏิบัติในการหาคู่
การเลือกปฏิบัติด้วยอคติในเชื้อชาติดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันถูกสร้างและผลิตซ้ำมานาน ผ่านหมวดหมู่ในเว็บหนังผู้ใหญ่ เช่น ‘Rough Arab’ และ ‘Big Black Cock’
ตัวอย่างเช่น Big Black Cock ชายผิวดำต้องมีอวัยวะเพศชายขนาดใหญ่มาก
คนก็จะเลือกปฎิเสธ เพราะคิดว่าชายผิวดำทุกคนเป็นเช่นนั้น
น่าเศร้า ที่ปัญหานี้นอกจากยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่ผู้ใช้บางคนใน Grindr คิดว่ามันเป็นเรื่องปกติที่จะถามชายผิวดำ “คุณจะเป็นพ่อ BBC (Big Black Cock) หรือไม่?”
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจน ชายผิวดำท่านหนึ่งมีความขุ่นเคืองน้อยลง เมื่อเห็น ‘No Blacks’ ในโปรไฟล์ของ Grindr เขากล่าวว่า “หากคุณไม่เคารพฉันก็ปล่อยให้ฉันอยู่คนเดียว เพราะหากมันไม่อยู่ในความสนใจของคุณ ฉันก็ไม่ต้องการคำพูดจาหยาบคายกับฉัน”
ยิ่งแย่ไปกว่านั้น ผู้ใช้บางท่าน เรียกคนผิวดำตามด้วย N-word หรือนำพวกเขาไปเทียบกับลิง Zoo Monkeys หลังจากพบว่าเขาไม่ได้ตอบในแชท
เหตุการณ์เป็นเรื่องใหญ่ จนพูดได้ว่า “หากคุณเป็นผู้ใช้แอปหาคู่เกย์ ที่เป็นชาวสีดำหรือชาวเอเชีย อาจเป็นไปได้ว่าคุณประสบปัญหาการเหยียดสีผิวขณะใช้งาน”
ตอนนี้แอปอย่าง Grindr ประกาศจุดยืนต่อต้านการเลือกปฏิบัติและเปิดตัวแคมเปญ #KindrGrindr เพื่อลดการเลือกปฏิบัติ แบ่งแยกและส่งเสริมความหลอมรวมทางวัฒนธรรมของผู้ใช้
ตัวแอปออกกฏแบนผู้ใช้ที่ “กลั่นแกล้งหรือหมิ่นประมาท” รวมถึงลบภาษาที่ไม่เหมาะสมออกจากโปรไฟล์ และได้ออกโฆษณาที่ใช้นายแบบหลากหลาบเชื้อชาติมากขึ้น
Zac Stafford ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเนื้อหาของ Grindr กล่าวว่าเขามีประสบการณ์ในแอปด้วยตัวเอง “ฉันเป็นผู้ใช้ Grindr ก่อนที่ฉันจะเริ่มทำงานที่นี่ ดังนั้นฉันจึงคุ้นเคยกับการเหยียดเชื้อชาติและปัญหาของชาวผิวสีหรือคนที่ไม่ำด้ระบุตนเป็นผู้ชายในแอป”
Grindr มีผู้ใช้ 27 ล้านคนทั่วโลกในปี 2560 การที่ปัญหาการเหยียดเพศนี้จะคงมีอยู่ หรือได้รับการแก้ไข อาจจะไม่ผลต่อการเลือกปฏิบัติในโลกของความเป็นจริงไม่มากก็น้อย
ข้อคิดจากเรื่องนี้ อาจจะกล่าวได้ว่ามนุษย์ทุกคน ล้วนมี อัตลักษณ์ ประสบการณ์ ที่มาที่แตกต่าง แต่ละคนอาจจะต้องพบเจอปัญหา หรือผลประโยชน์ที่เหมือนหรือต่างกัน แม้ยอมรับเพศซึ่งกันและกันแล้ว อาจจะไม่ยอมรับในอัตลักษณ์อื่น ของคนในกลุ่มเพศเดียวกัน
หากมองในเชิงสังคมศาสตร์ อาจจะสามารถนำแนวคิด intersectionality ที่มนุษย์ เราซับซ้อน หลายประการ การขับเคลื่อนความเท่าเทียมของผู้หญิง LGBT ในแต่ละที่เชื้อชาติ สีผิว ชนชั้น อาจจะมีความต้องการแตกต่าง
เช่น หญิงผิวขาวที่มีฐานะค่อนข้างดีอาจจะต้องการสิทธิทางกฏหมาย แต่หญิงโลกที่สามอาจจะไม่ต้องการกฏหมายใดๆ แต่ขอแค่มีส้วมที่สะอาดๆ ไม่ติดเชื้อ ไม่ถูกลวนลาม ก็เป็นได้
แหล่งข้อมูล: