
เสียงจากอาจารย์หญิงข้ามเพศ ณ ปลายด้ามขวาน
วันที่ 31 มีนาคมที่จะถึง เป็นวันตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศสากล (Transgender Day of Visiblility/TDOV) แม้การแสดงตัวตนของคนข้ามเพศในประเทศไทยค่อนข้างดี แต่สังคมไทยยอมรับคนข้ามเพศมากขึ้น แต่เหตุการณ์เมื่อไม่กี่ปี เรายังพบคำถามจากสังคมว่า “กะเทยหรือเพศที่สามจะสามารถทำอาชีพ…ได้หรือไม่?”
จากสถิติของ Being LGBT in Asia คนข้ามเพศกว่าครึ่งในไทย ยังคงประสบปัญหาเลือกปฏิบัติที่ทำงาน แต่วันนี้ทาง Young Pride ขอนำเสนอเรื่องราวของคนข้ามเพศ
จะมีใครรู้บ้าง ว่าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จะมีอาจารย์หญิงข้ามเพศอยู่
อาจารย์นัฐวุฒิ เชื้อกุลา เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์และพยาบาลในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้
“ตอนสมัยเรียนที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดิฉันจินตนาการว่า สามจังหวัด หรือ ปลายด้ามขวาน ต้องมีแต่ความรุนแรงและไม่เคยคิดที่จะไปปฏิบัติงานที่นั้น
แต่ไม่เลย…ฉันคิดผิดมาก
คุณเชื่อไหมว่า ที่ๆเราคิดว่าเป็นว่าอันตรายที่สุด กลับกลายเป็นที่ๆน่าอยู่ที่สุด ประโยคนี้ถ้าเราไม่ได้ลงมาปฏิบัติงาน เราคงไม่รู้ว่าที่นี่สงบ จนทำให้อาจารย์อย่างเราได้หยุดและอยู่กับตัวเอง
ฉันพบว่าความยากไม่ได้อยู่ที่ความไม่สงบ แต่มันคือ การใช้ชีวิตต่างวัฒนธรรม ท่ามกลางประชากรที่เป็นมุสลิม และเราก็เป็นหญิงข้ามเพศ ที่แรกนึกไม่ออกด้วยซ้ำว่าจะอยู่กันได้ไหม มากไปกว่านั้นการที่เราเป็นอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จะต้องอยู่กับชุมชนที่เราไม่รู้ว่าเค้าจะหาว่าผิดผีหรือเปล่า?
นั่นคือความคิดค่ะ …
เรานึกอยู่เสมอว่า เรามาทำหน้าที่เป็นอาจารย์ไม่ว่าเพศไหนหรือเชื้อชาติใดก็ตาม ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดและเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้ลูกศิษย์ เป็นพยาบาล และแพทย์ที่ดีได้ในอนาคต
และความเป็นจริงก็ปรากฏ คนที่นั้นไม่ได้ดูที่เพศ แต่ดูที่ความสามารถ เราพิสูจน์ให้เห็นว่าเราเป็นผู้หญิง ที่มีความสามารถ เป็นผู้หญิงที่พร้อมที่จะปฎิบัติราชการอย่างเต็มที่
ขอขอบคุณทางสถาบันการศึกษาที่มองเราที่ความสามารถและไม่เลือกว่า เราเป็นอะไร ขอบคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ทำให้เราได้มีความสามารถได้โอกาสหลายๆ อย่าง
ดิฉันขอสัญญาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะพัฒนาแพทย์ และพยาบาลรวมทั้งด้านวิจัยที่นี่ให้เป็นที่ที่มีคุณภาพที่หนึ่งของประเทศไทยให้ได้”