ผ้าอนามัย จาก ส่วนตัว สะท้อน ส่วนรวม?

ผ้าอนามัยจาก ส่วนตัว สะท้อน ส่วนรวม?


สิ่งขอจำเป็นทำไมต้องจ่ายแพง?

ประจำเดือน = ของไม่ดีทางวัฒนธรรม?

เลือด ธรรมชาติ และความเท่าเทียม


เมื่อไม่กี่ชั่วโมงมานี้ ในทวิตเตอร์ มีผู้ใช้ท่านหนึงได้ทวีตว่า
“ราคาผ้าอนามัยเนี่ย เป็นอีกอย่างที่รู้สึกว่ามันเศร้า เราเคยมีช่วงที่ไม่มีเงินจะกินข้าวแล้วอะ แต่ต้องเจียดเงินไปเกือบร้อยไปซื้อผ้าอนามัย แล้วลองคิดถึงคนที่เข้าเจอปัญหาแบบนี้ตลอดเวลาดิ น่าเห้นใจนะ มีสองทางคืออดข้าว หรือ ใช้ผ้าอย่างอื่นแทน ซึ่งก็ไม่สะอาดและทำให้ไม่สะดวกกับการใช้ชีวิต”


ทวีตเพียงไม่ถึง 4 ชั่วโมง คนรีทวิตเกือบ 3 หมื่น(แต่ทางทวิตเตอร์ต้นทางได้ลบทวีตเรียบน้อยแล้ว ขอขอบคุณแหล่งข้อูลจากเพจ มิตรสหายท่านหนึ่ง)


จากทวีตนี้ แสดงให้เห็นถึง ผ้าอนามัย ที่เป็นสิ่งขอจำเป็น แต่กลับเข้าถึงลำบาก ที่มีราคาสูง จึงอาจจะถึงขั้น “อดข้าว”


งานนี้ เรื่องส่วนตัวสะท้อนถึงส่วนรวม โดยเฉพาะความเท่าเทียมทางเพศ ของผู้หญิง และหลายคนคงอาจจะคิดว่า ไม่มีหรอก ใครๆก็เข้าถึงผ้าอนามัยได้


รู้หรือไม่? อินเดีย มีการเข้าถึงผ้าอนามัยไม่ถึง 18% ถึงขั้นผู้หญิงอินเดียต้องออกมาประท้วงกันเป็นเวลากว่า 5 ปี เพื่อต่อสู้กับการเข้าถึงด้านสุขอนามัยหญิง ทำให้รัฐบาลต้องออกมาลดภาษี 12% ในการค้าผ้าอนามัย ในปี 2017


ปัจจุบันการต่อสู้ด้านสุขอนามัยหญิง ไปถึงขั้นการต่อรองในระดับของวัฒนธรรม ในการแก้ทัศนคติ ที่มองว่าประจำเดือนของเพศหญิง ที่เป็นธรรมชาตนั้น ไม่ได้เป็น สิ่งน่ารังเกียด หรือไม่ดีทางเชิงวัฒนธรรม


โดยอินเดีย ผู้หญิงถูกห้ามเข้าวัดเนื่องจาก ไม่ทราบว่าช่วงไหนมีประจำเดือน เพราะเป็นของต้องห้าม ฟังดูคุ้นๆ ประเทศไทยยังมีความเชื่อว่า ประจำเดือดของเพศหญิง เป็นของสะเนียดจรรไร จริงหรือเปล่า? (อ้างอิง: https://www.tnews.co.th/contents/455375)


ดังนั้นจึงมีแคมเปญเกิดขึ้นในอินเดีย ชื่อ #HappyToBleed เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นดังกล่าว และได้รับความนิยมในโลกออนไลน์


ทั้งนี้ การต่อสู้ด้านสุขอนามัยหญิง กลายเป็นประเด็นระดับโลก นอกจากเรื่องผ้าอนามัย ยังรวมถึง ห้องน้ำที่สะอาดและปลอดภัย น้ำที่สะอาด จึงเกิดองค์กร WASH Advocates (WASH ย่อมาจาก “water, sanitation and hygiene”) ซึ่งกำลังทำงานร่วมกับ UNICEF


ทั้งนี้ ผ้าอนามัย ในไทย ยังเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” ที่ผู้หญิงจะต้องจัดการเอง ถึงแม้จะต้องอดข้าว หรือควรการเป็นเรื่อง “ส่วนรวม” รัฐบาลจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไข กันแน่?

SFI activities sitting demonstration protests aginst 12 percent GST of sanitary pads at Guwahati on 13-07-17.pix by ub photos


แหล่งข้อมูล:

https://www.facebook.com/AComradeOfMine.II/photos/a.1544336229164824/2264824600449313/?type=3&__xts__%5B0%5D=68.ARDiWSF2OgagqKQzQWjyPSlbLDD_-63rG8k9PfZuC-juje0t5o4mt_0GxTiwI40KxYC9FBjB1T3eggunq2v82N79m5FEMAJdPhG2qE3mDuK5mNeBSOa8gcoloyB3PpzVNSaBmGIGAatvVdu9OuD2jK042y22RHst0CQJ8mqPxrqkdFcSq61GM98kGuWCCZjg9c9Pg4gW9vmpwpQZRk5SiA2f069LcEdDRDxEEw1LcVrj1LYfCgRWoA–UG9EOYpJjawfpcA2gFI75nCC6S0YaZfTyK8-bmcSzQxQvHlw41wnRaB6yilWtpeK77eToG4oakLEB-mROTNkgugJqOUHkae8p9k&__tn__=H-R
http://www.indianwomenblog.org/sanitary-napkins-to-b

e-exempt-from-gst-maharashtra-finance-minister-sudhir-mungantiwar/


https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/health-fitness/health-news/only-18-women-in-india-have-access-to-sanitary-hygiene-in-india/articleshow/64931350.cms


https://www.independent.co.uk/news/world/asia/india-sanitary-pads-12-tax-protests-period-poverty-piyush-goyal-a8459801.html


https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2015/06/16/414724767/people-are-finally-talking-about-the-thing-nobody-wants-to-talk-about


https://www.bbc.com/news/world-asia-india-34900825

https://www.tnews.co.th/contents/455375

ที่มารูปภาพ:

http://www.indianwomenblog.org/sanitary-napkins-to-be-exempt-from-gst-maharashtra-finance-minister-sudhir-mungantiwar/


https://www.independent.co.uk/news/world/asia/india-sanitary-pads-12-tax-protests-period-poverty-piyush-goyal-a8459801.html

https://www.tnews.co.th/contents/455375