
“มีงูมั้ย?” กะเทยกับงู ??
#คำถามแบบนี้มารยาทนิดนึง
รายการขวัญใจชาว LGBT กะเทยไทย “เกือบ” ทั่วฟ้าเมืองไทย อย่างรายการลิขสิทธิ์จากสหรัฐฯ The Face Thailand ที่ก้าวเข้าสู่ Season 5 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
วิวัฒธนาการรายการเฟ้นหานางแบบ ตั้งแต่หญิงตามเพศกำเนิด จนไปถึงหญิงตามเพศสภาพ รวมไปถึงนายแบบชาย รวมถึงชายแบบ Androgyneous ส่งผลให้รายการได้รับการยกย่องว่าเป็นรายการที่เปิดรับเรื่องเพศมากที่สุด น่าแปลกใจ รายการระดับนี้ ยังมีโมเมนท์ที่ LGBT กลับต้องอึ่ง อย่างประเด็น “มีงู?”
น่ายินดีอย่างยิ่ง หนึ่งในผู้เข้าประกวด แคนดี้ กล่าวว่า “The Face เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้กับ All Genders จริงๆก็เลยมารายการนี้” รวมถึง โทนี่ รากแก่น หนึ่งในเมนเทอร์ The Face Season 5 กล่าว “รักรายการมากที่เปิดโอกาสให้สิ่งพวกนี้” ถือเป็นภาพเปิดตัวที่ดีมาก
แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อหนึ่ง (หรือครึ่ง) เมนเทอร์ อย่าง จีน่า ได้ถาม แคนดี้ว่า “ช่วงล่างยังไม่?” พร้อมกับท่าทางอิหลักอิเหลื่อ ถามถึงแคนดี้ว่าได้ทำการผ่าตัดแปลงเพศแล้วหรือยัง

ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของรายการที่มีการถามเรื่องอวัยวะเพศ หรือ “ของลับ” ของผู้เข้าประกวด เมื่อซีซั่น 3 เมนเทอร์ลูกเกด ได้ถาม บลอสซัม และ ฮาน่า เช่นกันว่า “มีงูมั้ย” พร้อมกลับหัวเราะเมื่อได้รับคำตอบ

เรื่อง “ของลับ” อย่างอวัยวะเพศ ที่ส่วนตัวขนาดนี้ ชาว LGBT หรือแม้แต่ชาวหญิงทั่วไปมีใครบ้างที่อยากตอบเรื่องนี้ในที่สาธารณะ? แต่ที่แย่ไปกว่านั้น อาการตลกหลังได้รับคำตอบ คืออาการของอะไร? อาจจะทำให้ผู้ถูกถามรู้สึกอับอายได้หรือเปล่า? วันนี้ Young Pride จะชวนทุกท่านเข้ามาสู่วิธีการอธิบายที่ง่ายที่สุด
หลายครั้งสังคมไทยมักจะให้ค่าและยอมรับ กะเทย หรือ สาวข้ามเพศ (Transwoman) อย่างมี เงื่อนไข “ต้องสวย” “ดูเหมือน” “เสียงเหมือน” “เดินเหมือน” หรือแม้แต่กริยาท่าทาง ขนบธรรมเนียบยกมาแบบผู้หญิงหมด
โดยเฉพาะเวลาใครไม่เป็นไปตาม “เงื่อนไข” ก็จะถูกตีตราว่าเป็น กะเทยควาย กะเทยเถื่อน กะเทยถึก หรือการล้อคนไม่ฝ่าตัดแปลงว่า ผู้หญิงยืนฉี่ อวัยวะเพศผู้หญิงคนนี้่ใหญ่กว่าผู้ชายคนนี้อีก แต่คำว่าง่ายๆอย่าง “มีงู”
การกระทำเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำ ตั้งแต่พื้นที่ศูนย์กลางอย่างสื่อ การศึกษา เพื่อน แทรกซึมจนเรียนกว่า “กระบวนการทำให้เป็นปกติ” (Normalization) ทำให้สังคมมองว่าแบบนี้ถามได้ ทำได้ ใครๆก็ทำกัน
แต่ตั้งเริ่มจนจบกระบวนการ ยังไม่เห็นตรงไหนที่ ถามกะเทยเลยว่า เรารู้สึกยังไง เมื่อ “ถูกกระทำ” เช่นนี้
การมีงูแท้หรือไม่ แท้จริงแล้ว ก็คงเป็นเรื่องส่วนตัวและไม่ควรมีใครมากำหนด หรือตีตรา ล้อเลียน และยอมรับในความกล้าของ แคนดี้ ที่กล้าที่จะประกาศว่า “แล้วหนูจะพิสูจน์ ว่าการมีงูไม่ใช่อุปสรรค”
จะมีใครชอบบ้าง หากคุณเป็นคนประเทศหนึ่ง แล้วมีคนเรียกว่า ประเทศคุณว่า ประเทศทหารปกครอง ประเทศไม่มีประชาธิปไตย และคนเหล่านั้นก็บอกว่าก็ “เรื่องจริง” สุดท้ายจะเรียกหรือถามยังไงมันไม่ขึ้นอยู่กับ “คนทำ” แต่ขึ้นอยู่กับ”คนถูกกระทำ” หรือเปล่า?

The Face Thailand Season 3 : Episode 1https://www.youtube.com/watch?v=itZdxmRNesg
The Face Thailand Season 5 – Episode 1 https://tv.line.me/v/5482875/list/314917