พลังสตรีล้านนา The Power of Lanna Women

by | Feb 28, 2019 | Advocacy, Society | 0 comments

พลังสตรีล้านนา

The Power of Lanna Women


หลายครั้ง เมื่อพูดถึงสิทธิสตรี บางส่วนมักมองว่า สังคมส่วนใหญ่มักเป็นสังคมชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตย อย่างการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัยที่ผู้ชายมีอำนาจในสถาบันสำคัญ และผู้หญิงถูกกีดกันสิทธ น่าแปลก ในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างสังคมล้านนา ผู้หญิงกลับมีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าผู้ชาย


สังคมล้านนามีเอกลักษณ์ ในเรื่องบทบาทผู้หญิง สืบสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษดั้งเดิม จนเป็นระบบความเชื่อ วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตจากอดีตสู่ปัจจุบัน แม้จะถูกปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่ยังคงอยู่


จากงานเขียน บทบาทผู้หญิงในล้านนา ของภักดีกุล รัตนา การขึ้นมาเป็นผู้ปกครองของสังคมล้านนา ผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ต้องมีเชื้อสายราชวงศ์มังรายโดยตรงเท่านั้น ถึงจะขึ้นครองราชย์ได้ โดย “ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเพศไหน” ซึ่งถือว่ามันเป็นการแสดงให้เห็นว่า “เพศไหน” ก็สามารถแสดงความสามารถ อย่างการปกครองบ้านเมืองได้


โดยเฉพาะ พระนางจิรปะภาเทวีที่ปกครองบ้านเมืองในช่วงที่มีความวุ่นวายจากการบุกของพม่าและอยุธยา และพระนางสุทธิเทวีที่ปกครองบ้านเมืองในช่วงที่ตกเป็นประเทศราชของพม่า


สิ่งเหล่านี้สั่งสมจนกลายเป็นความเชื่อ อย่าง “ม้าขี่หลวง” การคอยดูแลรักษาผีบรรพบุรุษ หรือดูแลสายผีของครอบครัว โดยคนที่จะดูแลสายผีหรือ “ม้าขี่” ต้องเป็นแค่ “ผู้หญิงเท่านั้น” และส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกสาวคนโตในการสืบสาย


ในทุกๆปีใหม่ ทุกครอบครัวจะต้องเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ถ้าหากไม่ทำตามก็จะเกิดเหตุร้ายกับครอบครัว จึงส่งผลให้ผู้หญิงสามารถเลือกคู่ครองเอง เนื่องจากไม่สามารถออกไปอยู่บ้านฝ่ายชายได้ เพราะผูกมัดกับการเป็นม้าขี่


นอกจากผู้หญิงมีสิทธิในการเลือกคู่แต่งงานแล้ว ยังมีสิทธิในด้านครอบครองมรดก และหย่าร้าง โดยสังคมล้าน การยกย่องความเป็นแม่ร้าง หรือ แม่หม้า ว่าเป็นผู้หญิงที่มีประสบการณ์สูง ในการใช้ชีวิตเหมือนกับการอาบน้ำร้อนมาก่อน ซึ่งภายหลังสามารถหาสามีใหม่ได้โดยที่ไม่โดนสังคมรังเกียจ


อีกทั้ง การได้รับมรดกจากการแต่งงาน เมื่อแต่งงานฝ่ายชายจะต้องเข้ามาอยู่ในบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งสังคมล้านนาจะมองว่า การที่ได้ผู้ชายเข้ามาในบ้าน เป็นการแสดงถึงการได้แรงงานมากขึ้น เพราะอดีต อาชีพค้าขายมักจะผู้หญิงส่วนใหญ่ และจะถูกเรียกว่า ลี เช่น ลีเชียงพระ (กาดวัดพระสิงห์) เพราะผู้ชายส่วนใหญ่จะถูกเกณฑ์เป็นแรงงานเพื่อทำงานให้รัฐ
แม้หย่ากัน ฝ่ายหญิงจะได้มรดกที่มากกว่าฝ่ายชาย


โดยฝ่ายหญิงมักจะได้มรดกที่มีค่าและมีราคามากกว่า ฝ่ายชาย เช่น ที่ดิน เสื้อผ้า แก้วแหวน ในขณะที่ฝ่ายชายได้ ควาย วัว หรืออุปกรณ์ทำการเกษตร อนึ่งฝ่ายหญิงสามารถไล่ฝ่ายชายออกจากบ้านแล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่ กับชายอื่นได้


ผู้หญิงล้านนาเป็นถูกมองว่าเป็นผู้หาทรัพย์สินเข้ามาในบ้าน และมีบทบาทสูงมากในระดับชุมชนอย่างเรื่องของการค้าขาย ดังนั้นสังคมล้านนาถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดี ที่แสดงให้เห็นถึงสังคมที่ผู้หญิงก็สามารถแสดงบทบาทโดดเด่นไม่แพ้กับเพศชาย หรือความสามารถนั้น “ไม่ได้จำกัดเพศ”


สุดท้าย แม้มีคำกล่าว่า “วัฒนธรรมทางความคิดของผู้คนส่วนใหญ มักสืบทอดมาจากอดีต” แต่ทำไมความคิดอย่างบทบาทผู้หญิงที่โดดเด่นเหล่านี้ มักไม่ถูกพูดถึง หรือแท้จริงยังมีอยู่หรือไม่ หรือจากหายไปที่ใด?


ภานุวัฒน์ กุยแก้ เขียน ชิษณุพงศ์ นิธิวนา เรียบเรียง


แหล่งข้อมูล: ภักดีกุล รัตนา. อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การฟัง. 5 กุมภาพันธ์ 2561.


ที่มารูปภาพ: http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/p%20living.htm