มหาลัยฯ ”มีครูเหยียดเพศ” โรงเรียนก็มี “ครูเหยียดกันเอง”!!!

by | Feb 12, 2019 | Society | 0 comments


มหาลัยฯ ”มีครูเหยียดเพศ” โรงเรียนก็มี “ครูเหยียดกันเอง”!!!

ไม่นานมานี้ อาจารย์เหยียดเพศ นศ. ครุศาสตร์ จุฬา กำลังเป็นที่น่าจับตามองของสังคม โดยเฉพาะงานบอลประเพณี แสตนฝั่งมธ. ถึงกลับแปลอักษรว่า “มีครูเหยียดเพศ” ส่วนฝั่งจุฬา ก็ไม่น้อยหน้า นำนศ.ดังกล่าวร่วมเดินขบวนกับธงสีรุ้ง แสดงถึงความตระหนักเรื่องเพศ ในรั้วมหาลัยฯ

เครดิต Wenika Wichaiwatthana
เครดิต ฟุตบอลประเพณีจุฬา ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 73


ใครจะไปรู้ นอกจากการเหยียดในมหาลัยฯ ไม่ให้เข้าเรียนเพราะเป็นชาวสีรุ้งแล้ว จบไป ก็ยังถูกเหยียดจากคนในวิชาชีพเดียวกัน


เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา บัณฑิตครู โพสผ่านเฟสบุ้คส่วนตัวถึง เหตุการณ์สมัครเข้าสอนโรงเรียนหนึ่ง แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้แต่งกายตามเพศสภาพ ในการทำหน้าที่ครู เนื่องจากเป็นหญิงข้ามเพศ


โดยมีเนื้อหาว่า”สรุป ที่เมธังฯ ก็ไม่ให้แต่งกายตามเพศสภาพ ซึ่งผอ.ก็รู้นะว่าในทางกฎหมายแล้วสามารถแต่งได้ แต่ผอ.ให้เหตุผลว่าวัฒนธรรมองค์กรที่มีทั้ง เด็ก ครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา มันส่งผลกระทบต่อโรงเรียนแน่ๆ ในอนาคต ซึ่งถ้านี่ยังคงจะดันทุรังจะอยู่กันแบบไม่สบายใจ ถ้าเอาที่เราสบายใจที่สุดคงจะสละสิทธิ์ มันคงไม่ใช่ที่ของเรา เสียใจด้วยคุณพลาดคนมีอุดมการณ์แบบเราไปแล้ว เราคงไม่อยู่ในองค์กรที่คิดแบบนี้กับเราหรอก เชิญคนต่อไปขอให้ได้คนดีมีคุณภาพกว่าเรา ! #ขอให้โชคดี บายจร้าา…”


จากการสอบถามเจ้าของเฟสบุ้ค “กฏหมาย” คือ “พระราชบัญญัติ ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘” ซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระทําหรือไม่กระทําการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจํากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจาก ความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศ โดยกําเนิด”
พรบ. นี้ถูกใช้และสำเร็จ มาตั้งแต่ การเปลี่ยนกฏการแต่งกายรับปริญญาของมหาลัยฯต่าง จนไปถึงการเหยียดเพศผ่านสื่อ


ทั้งนี้กฏหมายอย่าง “จรรณบรรณวิชาชีพครู” ไม่ได้มีกำหนด เรื่องการแต่งกายและเพศสภาพ หรืออัตลักษณ์แต่อย่างใด เพียงแต่ระบุว่า “แต่งกายเหมาะสม”


ซึ่งน่าแปลกใจ เรื่องความเหมาะสมนี้ คณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (USCE) ก็ได้โพสถาม “เพศที่สาม เป็นครูได้หรือไม่” และสังคมต่างไม่เห็นด้วยกันการที่คิดว่าเพศที่สาม ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครู

สุดท้าย หาก ผอ. ให้เหตุผลว่า “วัฒนธรรมองค์กรที่มีทั้ง เด็ก ครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา มันส่งผลกระทบต่อโรงเรียนแน่” นั้นเป็นเรื่องจริง

จากบทเรียนที่เกิดขึ้น (เมื่อไม่นานมานี้) เราจึงสงสัยว่า “วัฒนธรรมองค์กร” แบบนี้จะส่งผลดี หรือผลเสีย กับองค์กรหรือโรงเรียน กันแน่?

อ้างอิง:พระราชบัญญัติ ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/018/17.PDF
คณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (USCE) โพส

“เพศที่สาม เป็นครูได้หรือไม่”https://www.facebook.com/USCE.CU/photos/a.541166162626286/2003122949763926/?type=3&theater


จรรยาบรรณวิชาชีพครูhttps://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=4&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwio1-i797XgAhV0JDQIHUhEBiUQFjADegQIBxAC&url=http%3A%2F%2Fe-book.ram.edu%2Fe-book%2Fc%2FCU503%2FCU503-7.pdf&usg=AOvVaw15YiugZ6Vc5iaGgK0UGLbs